Menu

ข่าวความเคลื่อนไหว ผลวิจัยจากการทดลอง ของ สมุนไพร ชนิดต่างๆ

ฤทธิ์ต้านการอักเสบ และฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของตำรับยาเลือดงาม และส่วนประกอบในตำรับ

ตำรับยาเลือดงาม เป็นยาที่ใช้ในการรักษาอาการปวดเวลามีประจำเดือนของเพศหญิง (ประกอบด้วย หัวกระเทียม เมล็ดเร่ว โกฐจุฬาลำพา (ทุกส่วน) เหง้ากระชาย ใบมะนาว ผิวมะกรูด ตะไคร้หอม (ทุกส่วน) รากชะเอมเทศ สะระแหน่ (ทุกส่วน) เมล็ดจันทน์เทศ ใบกะเพรา เปลือกเพกา เมล็ดพริกไทย ดอกดีปลี ช้าพลู (ทุกส่วน) รากเจตมูลเพลิงแดง ดอกกานพลู เหง้าไพล เหง้าขิง เหง้ากะทือ) เมื่อนำตำรับยา และส่วนประกอบในตำรับมาสกัดโดยการหมักด้วย 95% เอทานอลและการต้มน้ำ หลังจากนั้นนำสารสกัดทั้งหมดมาทดสอบฤทธิ์ต้านการอักเสบโดยการยับยั้งการหลั่งไนตริกออกไซด์ และฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH radical scavenging assay พบว่าสารสกัดเอทานอลของพริกไทย ขิง มะกรูด และตำรับยาเลือดงามมีฤทธิ์ต้านการอักเสบโดยมีค่าความเข้มข้นที่สามารถยับยั้งได้ครึ่งหนึ่ง (IC50) เท่ากับ 1.31 ± 0.42, 2.87 ± 0.31, 3.03 ± 3.27 และ 28.18 ± 4.63 มคก./มล. ตามลำดับ เมื่อเทียบกับสารมาตรฐานคือ Indomethacin ซึ่งมีฤทธิ์ต้านการอักเสบ (IC50) เท่ากับ 25.04 ± 3.79 มคก./มล. สำหรับฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระพบว่าสารสกัดเอทานอลของกานพลู เพกา และขิง ซึ่งเป็นส่วนประกอบในตำรับมีฤทธิ์ดีกว่าสารมาตรฐาน Butylated hydroxytoluene (BHT) โดยมีค่าความเข้มข้นที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระได้ครึ่งหนึ่ง (EC50) เท่ากับ 9.20 ± 0.29, 9.94 ± 0.91, 14.34 ± 0.28 และ 15.84 ± 1.42 มคก./มล. ตามลำดับ ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าตำรับยาเลือดงาม และสมุนไพรที่เป็นส่วนประกอบในตำรับมีฤทธิ์ต้านการอักเสบและต้านอนุมูลอิสระได้ จึงเป็นข้อมูลสนับสนุนการใช้ยาไทยและสมุนไพรได้ต่อไป

Thammasat Medical Journal 2015;15(3):376-83.

ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

1

2

3

4

5

6

บทความอื่นๆ

998

ฤทธิ์ยับยั้งลำไส้อักเสบของทับทิม
ฤทธิ์ยับยั้งลำไส้อักเสบของทับทิมศึกษาฤทธิ์ยับยั้งลำไส้อักเสบทั้งในภาวะเฉียบพลันและเรื้อรังของสาร ellagic acid จากทับทิม ในหนูเม้าส์ที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดภาวะลำไส้อักเสบด้วยการป้อน dextran sulphate sodium (DSS) ทั้งระยะเฉียบพลันและเรื้อรัง โดยการศึกษาในระยะเฉียบพลัน ใช้หนูเม้าส์สายพันธุ์ Balb/C 3 กลุ่ม (กลุ่มละ 7 - 10 ตัว) กลุ่มที่ 1 เลี้ยงด้วยอาหารและน้ำปกติ (กลุ่มควบคุม) กลุ่มที่ 2 เลี้ยงด้วยอาหารปกติและน้ำที่มี DSS ผสมอยู่ 5% กลุ่มที่ 3 เลี้ยงด้วยอาหารที่มีสาร ellagic acid ผสมอยู่ 2% โดยน้ำหน...

1188

การเปลี่ยนแปลงเมตาบอลิสมของหนูอ้วนที่เป็นเบาหวานของสารสกัดใบบัวบก
การเปลี่ยนแปลงเมตาบอลิสมของหนูอ้วนที่เป็นเบาหวานของสารสกัดใบบัวบกการศึกษาในหนูแรท โดยแบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 กลุ่มควบคุมที่ให้กินอาหารปกติ กลุ่มที่ 2 กลุ่มหนูอ้วนโดยให้กินอาหารที่มีไขมันสูง กลุ่มที่ 3 กลุ่มหนูอ้วนที่เป็นเบาหวานโดยให้กินอาหารไขมันสูงและเหนี่ยวนำให้เป็นเบาหวานด้วย streptozotocin กลุ่มที่ 4 กลุ่มหนูอ้วนที่เป็นเบาหวานและได้รับสารสกัด 70% เอทานอลจากใบบัวบก ขนาด 300 มก./กก. นาน 4 สัปดาห์ และกลุ่มที่ 5 กลุ่มหนูอ้วนที่เป็นเบาหวานและได้รับยา metformin ขนาด 300 มก./กก. นาน 4...

659

สารสกัดจากใบยูคาลิปต่อการบรรเทาการทำลายตับที่ถูกเหนี่ยวนำด้วย
สารสกัดจากใบยูคาลิปต่อการบรรเทาการทำลายตับที่ถูกเหนี่ยวนำด้วย lipopolysaccharideการศึกษาผลของสารสกัดเอทานอลจากใบยูคาลิปที่มีปริมาณ hydrolyzable tannins สูงต่อหนูที่ถูกเหนี่ยวนำให้ตับถูกทำลายด้วย lipopolysaccharide (LPS) โดยให้หนูกินอาหารที่ผสม 1% ของสารสกัด hydrolyzable tannins จากใบยูคาลิป เป็นเวลา 10 วัน แล้วฉีด LPS เข้าทางช่องท้องหนู หลังจากนั้น 6 ชั่วโมง ทำการตรวจวัดระดับเอ็นไซม์ alanine aminotransferase (ALT), aspartate aminotransferase (AST) และการแสดงออกของ inducible nitric oxide synthase...

1246

ผลของสารสกัดเมล็ดองุ่นต่อความดันโลหิตในผู้ที่มีแนวโน้มจะเป็นโรคความดันโลหิตสูง
ผลของสารสกัดเมล็ดองุ่นต่อความดันโลหิตในผู้ที่มีแนวโน้มจะเป็นโรคความดันโลหิตสูงการศึกษาแบบสุ่มและปกปิดทั้ง 2 ฝ่าย ในผู้ที่มีแนวโน้มจะเป็นความดันโลหิตสูง (ความดันโลหิตช่วงบน 120-139 มม.ปรอท ความดันโลหิตช่วงล่าง 80-89 มม.ปรอท) ทั้งชาย และหญิงจำนวน 28 คน ทุกคนจะได้รับเครื่องดื่มที่เป็นยาหลอกก่อน 2 สัปดาห์ จากนั้นแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มที่ได้รับเครื่องดื่มที่เป็นยาหลอกต่อไปอีก จำนวน 16 คน ส่วนกลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มที่ได้รับเครื่องดื่มที่มีสารสกัดจากเมล็ดองุ่น 300 มก./วัน (แบ่งรับป...

295

ฤทธิ์การรักษาแผลของสารสกัดจากใบส้มกุ้ง
ฤทธิ์การรักษาแผลของสารสกัดจากใบส้มกุ้งการศึกษาฤทธิ์รักษาแผลของสารสกัดจากใบส้มกุ้ง ในหนูขาวโดยแบ่งหนูออกเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มควบคุม กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มที่ได้รับยามาตรฐาน Framycetin ointment กลุ่มที่ 3 และ 4 เป็นกลุ่มที่ได้รับสารสกัดเอทานอลจากใบส้มกุ้ง และได้รับสารสกัด embelin จากใบส้มกุ้ง ตามลำดับ ซึ่งได้ทำการศึกษาในแผล 3 ชนิด คือ แผลที่ถูกตัด (excision wound) แผลที่เป็นรอยเชือด (incision wound) และแผลที่มีเนื้อตาย (dead space wound) โดยแผลที่ถูกตัด (excision wound) หนูจะถูกทำเกิดแผล...

988

ฤทธิ์แก้ท้องเสียของเอื้องเพ็ดม้า
ฤทธิ์แก้ท้องเสียของเอื้องเพ็ดม้าการศึกษาฤทธิ์แก้ท้องเสียของเอื้องเพ็ดม้า (Polygonum chinense  Linn.) ในหนูเม้าส์ที่ถูกเหนี่ยวนำให้ท้องเสียด้วยน้ำมันละหุ่งและแมกนีเซียมซัลเฟต พบว่าสารสกัด 75% เอทานอลจากส่วนเหนือดินขนาด 1.117, 2.355 และ 4.710 ก./กก. มีฤทธิ์แก้ท้องเสียในหนูได้ เมื่อนำสารสกัด 75% เอทานอลมาทำการแยกและทดสอบฤทธิ์ พบว่าส่วนสกัดที่มีฤทธิ์แก้ท้องเสีย ได้แก่ ส่วนสกัดเอ็น-บิวทานอล ขนาด 462 มก./กก. และส่วนสกัดน้ำ ขนาด 1,159 มก./กก. ซึ่งเมื่อวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมี พบว่าสารสำคัญที่ออก...

450

การบริโภคอาหารที่ทำจากถั่วเหลืองไม่ลดระดับ
การบริโภคอาหารที่ทำจากถั่วเหลืองไม่ลดระดับ LDL ในผู้ที่สามารถสร้างสาร equol และผู้ไม่สามารถสร้างสาร equol ในลำไส้ได้สาร equol คือสาร isoflavone ชนิดหนึ่ง ซึ่งเปลี่ยนมาจากสาร diadzein โดยแบคทีเรียในลำไส้ พบว่ามีคุณสมบัติเหมือน estrogen และมีส่วนช่วยในการรักษาภาวะวัยทอง โรคหัวใจและหลอดเลือด รวมทั้งโรคเกี่ยวกับกระดูกของหญิงวัยหมดประจำเดือน แต่มีเพียงประชากร 1 ใน 3 เท่านั้นที่สามารถสร้างสาร equol โดยแบคทีเรียในลำไส้ได้ การศึกษาแบบ randomized, double-blind, placebo-controlled triple crossover dietary...

1559

ฤทธิ์ยับยั้งการดื้อยาต้านมะเร็งของสาร
ฤทธิ์ยับยั้งการดื้อยาต้านมะเร็งของสาร β-sitosterol จากพืชสาร β-sitosterol เป็นสารสำคัญที่สามารถพบได้ในพืชหลายชนิด เช่น ในน้ำมันพืช ผลิตภัณฑ์จากธัญพืช ผลไม้ต่างๆ และในพืชตระกูลเบอร์รี่ การศึกษาฤทธิ์ยับยั้งการดื้อยาต้านมะเร็งของเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่ของมนุษย์ชนิด HCT116 ซึ่งเป็นเซลล์ชนิดดื้อยา (drug-resistant colorectal cancer; CRC) โดยการบ่มเซลล์มะเร็งร่วมกับสาร β-sitosterol และยาต้านมะเร็งลำไส้ใหญ่ oxaliplatin (OXA) พบว่าสาร β-sitosterol ออกฤทธิ์กระตุ้น p53 โดยรบกวนการจับกันของ...

219

ฤทธิ์ของสาร
ฤทธิ์ของสาร Isoflavanquinone จากมะกล่ำตาหนู สาร Isoflavanquinone ที่แยกได้จากสารสกัดส่วนเหนือดินของมะกล่ำตาหนูด้วยคลอโรฟอร์มคือ abruquinone B และ abruquinone G สาร abruquinone B มีฤทธิ์ต้านเชื้อ  Mycobacterium tuberculosis  ที่เป็นสาเหตุของวัณโรค ด้วยความเข้มข้นต่ำสุดที่ยับยั้งเชื้อ = 12.5 มคก./มล. ต้านเชื้อ Plasmodium fulciparum ที่เป็นสาเหตุของโรคมาลาเรียด้วย IC50 = 1.5 มคก./มล. และเป็นพิษต่อเซลล์ KB และ BC cell lines ส่วนสาร abruquinone G มีฤทธิ์ต้านเชื้อ   Herpes simpl...