Menu

ข่าวความเคลื่อนไหว ผลวิจัยจากการทดลอง ของ สมุนไพร ชนิดต่างๆ

การดื่มน้ำส้มหมัก (orange fermented) ช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ

ศึกษาผลการดื่มน้ำส้มหมักต่อความเสี่ยงการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจในหนูเม้าส์ โดยทดลองป้อนน้ำส้มหมักให้แก่หนูในขนาดที่เทียบเท่ากับการดื่มในคนคือ 250 และ 500 มล./วัน เปรียบเทียบกับการป้อนน้ำส้มคั้น และน้ำเปล่า (กลุ่มควบคุม) นาน 12 สัปดาห์ พบว่าการดื่มน้ำส้มหมักมีผลเพิ่มระดับเอ็นไซม์ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการต้านอนุมูลอิสระได้แก่ catalase, superoxide dismutase, glutathione reductase และ glutathione peroxidase เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม และมีผลลดการเกิดปฏิกิริยา lipid peroxidation ซึ่งบ่งชี้ถึงการเกิดอนุมูลอิสระ และยับยั้งการแสดงออกของโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับภาวะการอักเสบได้แก่ Interleikin-6 และ C-reactive protein นอกจากนี้ผลการวิเคราะห์ค่าไขมันในเลือดยังพบว่า หนูเม้าส์ที่ดื่มน้ำส้มหมักมีระดับคอเลสเตอรอล และ LDL ลดลง ส่วนระดับ HDL ในเลือดสูงขึ้น เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม ผลจากการทดลองดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงประโยชน์ของการดื่มน้ำส้มหมัก โดยพบว่าฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบ และลดไขมันในเลือดของน้ำส้มหมักอาจมีผลช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจได้ ซึ่งขนาดการดื่ม 250 มล./วัน น่าจะเพียงพอต่อการลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ส่วนขนาดที่เพิ่มขึ้น (500 มล./วัน) มีผลให้ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระมากขึ้น

Food Chem Toxicol 2015; 78: 78-85.

ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

1

2

3

4

5

6

บทความอื่นๆ

648

ขมิ้นชันกับการป้องกันกระดูกพรุน
ขมิ้นชันกับการป้องกันกระดูกพรุนผลของสารสกัดจากขมิ้นชันต่อการป้องกันภาวะกระดูกพรุนเนื่องจากการขาดฮอร์โมนเพศ (ภาวะกระดูกพรุนในวัยหมดประจำเดือน) โดยทำการศึกษาในหนูแรทเพศเมียอายุ 3 เดือน จำนวน 4 กลุ่ม หนูกลุ่มที่ 1 (กลุ่มหนูปกติ) ฉีดสาร dimethylsulfoxide (DMSO) ซึ่งเป็นตัวทำละลายของสารสกัด เข้าทางช่องท้อง ส่วนหนูกลุ่มที่ 2-4 ทำการตัดรังไข่ออกเพื่อเหนี่ยวนำให้เกิดภาวะกระดูกพรุนเนื่องจากขาดฮอร์โมนเพศ หลังจากนั้น หนูกลุ่มที่ 2 (กลุ่มควบคุม) ฉีดสาร DMSO เข้าทางช่องท้อง หนูกลุ่มที่ 3 และกลุ่มที่ 4 ฉีดส...

1142

สารอาหารและสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพในทุเรียนพันธุ์ที่นิยมรับประทานและพันธุ์พื้นเมือง
สารอาหารและสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพในทุเรียนพันธุ์ที่นิยมรับประทานและพันธุ์พื้นเมืองการศึกษาเรื่องสารอาหาร สารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ และฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระของทุเรียนพันธุ์ที่นิยมรับประทาน ได้แก่ หมอนทอง และชะนี และพันธุ์พื้นเมือง ได้แก่ กระดุม และกบตาขำ ซึ่งเก็บรวบรวมจากสวนในพื้นที่ของจังหวัดนนทบุรี พบว่าทุเรียนทุกสายพันธุ์ประกอบด้วยใยอาหารจำนวนมาก (7.5 - 9.1 ก./100 ก. นน.แห้ง) และมีปริมาณของคาร์โบไฮเดรทและน้ำตาลสูง (62.9 - 70.7 ก. และ 47.9 - 56.4 ก./100 ก.นน. แห้ง ตามลำดับ) ทุเรียนพันธุ์ชะนี กระดุ...

389

ผลของอาหารทดแทนที่มีข้าวเป็นส่วนผสมในการควบคุมน้ำหนักในคนอ้วน
ผลของอาหารทดแทนที่มีข้าวเป็นส่วนผสมในการควบคุมน้ำหนักในคนอ้วนทดลองให้อาสาสมัครหญิงที่มีน้ำหนักเกิน (ค่าดัชนีมวลกาย เท่ากับ 25 - 35 กก./ตร.ม.) อายุระหว่าง 20 - 35 ปี จำนวน 40 คน แบ่งเป็นกลุ่มที่รับประทานอาหารทดแทนที่ให้พลังงานต่ำซึ่งมีส่วนประกอบเป็นข้าวขาว และกลุ่มที่รับประทานข้าวผสมระหว่างข้าวกล้องและข้าวดำ วันละ 3 มื้อ ร่วมกับอาหารว่างที่ทางผู้วิจัยจัดให้ เป็นเวลานาน 6 สัปดาห์ พบว่าทั้ง 2 กลุ่ม จะมีกลุ่มที่น้ำหนักตัว รอบเอว และสะโพกลดลง โดยกลุ่มที่รับประทานข้าวกล้องผสมข้าวดำ จะลดได้มากกว่ากลุ...

653

ฤทธิ์ปกป้องระบบประสาทของสารจากเห็ดหลินจือในหนูแรท
ฤทธิ์ปกป้องระบบประสาทของสารจากเห็ดหลินจือในหนูแรทการศึกษาฤทธิ์ของสารโพลีแซคคาไรด์ที่ละลายน้ำได้จากเห็ดหลินจือ (Ganoderma lucidum  polysaccharides, GLPS) ในสมองของหนูแรทที่ทำเส้นเลือดแดงบริเวณสมองส่วนกลางเกิดการอุดตัน (middle cerebral artery occlusion (MCAO)) และในเซลล์สมองของหนูแรทที่ทำให้เกิดภาวะขาดออกซิเจนและน้ำตาลกลูโคส (oxygen and glucose deprivation (OGD)) จากผลการทดลองพบว่าในหนูกลุ่ม MCAO ที่กิน GLPS ขนาด 100, 200 และ 400 มก./กก. สามารถลดบริเวณที่เนื้อตาย อาการผิดปกติของสมอง และการตาย...

936

ฤทธิ์ต้านการอักเสบของสารสกัด
ฤทธิ์ต้านการอักเสบของสารสกัด Ethyl Acetate จากเมล็ดของสมุนไพรราชดัดการแพทย์แผนจีนมีการใช้เมล็ดของราชดัดในการรักษาโรคต่างๆได้แก่ ภาวะการอักเสบ โรคบิด ไข้มาลาเรีย และมะเร็ง แต่อย่างไรก็ตามฤทธิ์ต้านการอักเสบของราชดัดนั้นยังไม่เป็นที่ชัดเจน การศึกษานี้จึงเป็นการทดสอบฤทิ์ต้านการอักเสบของสารสกัด Ethyl Acetate จากเมล็ดของราชดัดในหลอดทดลองและในร่างกายหรือเซลล์ โดยการประเมินสารที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการอักเสบได้แก่ Nitric Oxide (NO), Prostaglandin2(PGE2), Tumor Necrosis Factor-Alpha (TNF-α) และ Inte...

466

การรักษาฝ้าขาวในปากผู้ป่วยเอดส์ด้วยน้ำมะนาวฝรั่ง
การรักษาฝ้าขาวในปากผู้ป่วยเอดส์ด้วยน้ำมะนาวฝรั่ง ชาชงตะไคร้และยาป้ายปาก gentian violetการศึกษาแบบ randomized control trial ในผู้ป่วยเอดส์ 90 คน อายุน้อยกว่า 34 ปี ทั้งเพศชายและหญิง ที่ในปากเป็นฝ้าขาวที่เกิดจากเชื้อ Candida albicans   โดยแบ่งผู้ป่วยออกเป็น 3 กลุ่มๆละ 30 คน กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มควบคุม ได้รับยาป้ายปากด้วย 0.5% Gentian violet aqueous วันละ 3 ครั้ง นาน 2-10 วัน กลุ่มที่ 2 ให้อมกลั้วปากด้วยน้ำมะนาวฝรั่งนาน 5 นาที แล้วค่อยกลืน จากนั้นให้หยดน้ำมะนาวฝรั่ง 2-3 หยด วันละ 3 ครั้ง/ว...

207

กระตุ้นการสมานแผลในกระต่ายโดยชะเอมเทศ
กระตุ้นการสมานแผลในกระต่ายโดยชะเอมเทศ (Glycyrrhiza glabra)เป็นการศึกษาในกระต่ายนิวซีแลนด์น้ำหนัก 1.8-2.2 กก. ซึ่งทำให้เกิดแผลโดยการเปิดผิวหนังบริเวณหลังและเอวด้านซ้ายซึ่งโกนขนออกแล้ว แผลมีขนาด 20 ด 20 มม. สารสกัด hydroalcoholic ของชะเอมเทศเตรียมโดยวิธีการหมัก แล้วนำมาทำในรูปแบบครีมที่มีความเข้มข้นของสาร 5%, 10% และ 15% wt/wt ใน cucerinbase แล้วทาวันละ 2 ครั้ง โดยใช้ครีม Phenytoin 1% เป็นกลุ่มควบคุม พบว่าครีมสารสกัดชะเอมเทศขนาด 10% ให้ผลในการสมานแผลดีกว่าการใช้ครีม PhenytoinSaudi Pharmaceutica...

167

ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของแมงลักคา
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของแมงลักคา การทดสอบฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของสารสกัดเอทานอลของต้นแมงลักคา พบว่าสารสกัดมีฤทธิ์ต้านการอักเสบที่เหนี่ยวนำด้วย carageenan เมื่อป้อนให้หนูในขนาด 400 มก./กก. ให้ผลใกล้เคียงกับยาต้านอักเสบ Ibuprofen ขนาด 100 มก./กก. และยังมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระอีกด้วย Indian Drug 2002;39(11):574-7 ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล...

899

ฤทธิ์ขับปัสสาวะของสารจากกระเจี๊ยบแดงด้วยกลไกที่เกี่ยวข้องกับ
ฤทธิ์ขับปัสสาวะของสารจากกระเจี๊ยบแดงด้วยกลไกที่เกี่ยวข้องกับ aldosteroneการศึกษาฤทธิ์ขับปัสสาวะของสารสกัดน้ำ และสารสกัดจากตัวทำละลายต่างๆ ของกระเจี๊ยบแดง (Hibiscus sabdariffa  Linn.) ในหนูแรทที่ถูกตัดต่อมหมวกไต (adrenalectomized rats) โดยทดสอบกับ deoxycorticosterone acetate (aldosterone analog) รวมถึงศึกษาผลต่อการกรองของไต และศึกษาผลต่อการแสดงออกของยีน αENaC จากเซลล์บริเวณเยื่อบุผิวของไต (renal epithelial cell) ซึ่งยีนดังกล่าวเกี่ยวข้องกับการขับโซเดียมออกมากับปัสสาวะ พบว่าฤทธิ์ขับปัสสา...