-
ผลวิจัยสมุนไพร Thai Herb Research.
-
ผลของสารสกัดเมล็ดองุ่นต่อความดันโลหิตในผู้ที่มีแนวโน้มจะเป็นโรคความดันโลหิตสูง
ข่าวความเคลื่อนไหว ผลวิจัยจากการทดลอง ของ สมุนไพร ชนิดต่างๆ
ผลของสารสกัดเมล็ดองุ่นต่อความดันโลหิตในผู้ที่มีแนวโน้มจะเป็นโรคความดันโลหิตสูง
การศึกษาแบบสุ่มและปกปิดทั้ง 2 ฝ่าย ในผู้ที่มีแนวโน้มจะเป็นความดันโลหิตสูง (ความดันโลหิตช่วงบน 120-139 มม.ปรอท ความดันโลหิตช่วงล่าง 80-89 มม.ปรอท) ทั้งชาย และหญิงจำนวน 28 คน ทุกคนจะได้รับเครื่องดื่มที่เป็นยาหลอกก่อน 2 สัปดาห์ จากนั้นแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มที่ได้รับเครื่องดื่มที่เป็นยาหลอกต่อไปอีก จำนวน 16 คน ส่วนกลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มที่ได้รับเครื่องดื่มที่มีสารสกัดจากเมล็ดองุ่น 300 มก./วัน (แบ่งรับประทานครั้งละ 150 มก. วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น) นาน 4 สัปดาห์ โดยวัดความดันโลหิตก่อนเริ่มการศึกษา และในสัปดาห์ที่ 6 และ 10 ของการศึกษา และเจาะเลือดเพื่อดูระดับน้ำตาล ระดับอินซูลินในเลือด ก่อนเริ่มการศึกษา และในสัปดาห์ที่ 3, 6 และ 10 ของการศึกษา พบว่ากลุ่มที่ได้รับเครื่องดื่มที่มีสารกัดจากเมล็ดองุ่นความดันโลหิตช่วงบนลดลง 5.6% ความดันโลหิตช่วงล่างลดลง 4.7% หลังสัปดาห์ที่ 6 ของการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ได้รับเครื่องดื่มที่เป็นยาหลอก และความดันโลหิตจะกลับสู่สภาวะปกติเท่ากับตอนเริ่มการศึกษาเมื่อไม่ได้รับเครื่องดื่มที่มีสารสกัดจากเมล็ดองุ่นติดต่อกันนาน 4 สัปดาห์ นอกจากนี้ยังพบว่าในช่วงที่ได้รับเครื่องดื่มที่มีสารสกัดจากเมล็ดองุ่น ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง และลดภาวะดื้อต่ออินซูลินด้วย แต่หากไม่ได้รับเครื่องดื่มที่สารสกัดเมล็ดองุ่นติดต่อนาน 4 สัปดาห์ ระดับน้ำตาลในเลือด ภาวะดื้อต่ออินซูลิน ก็จะเข้าสู่สภาวะปกติเท่ากับก่อนเริ่มการศึกษา การศึกษาในครั้งนี้สรุปได้ว่า เครื่องดื่มที่มีสารสกัดจากเมล็ดองุ่นสามารถลดระดับความดันโลหิตในผู้ที่มีแนวโน้มจะเป็นโรคความดันโลหิตสูง และค่อนข้างปลอดภัย
British Journal of Nutrition 2016;115:226-38.ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
บทความอื่นๆ
ฤทธิ์ป้องกันการเกิดหลอดเลือดแข็งตัวของสารสกัดจากใบมะกอกฝรั่ง
ฤทธิ์ป้องกันการเกิดหลอดเลือดแข็งตัวของสารสกัดจากใบมะกอกฝรั่งการศึกษาสารสกัด 75% เอาทานอลจากใบมะกอกฝรั่ง (Olea europaea L.) ต่อการสะสมไขมันในเลือดของหนูแรทที่ถูกเหนี่ยวนำให้มีภาวะไขมันในเลือดสูงโดยการป้อนด้วยอาหารที่มีส่วนผสมของคอเลสเตอรอล 2% ร่วมกับการป้อนสารสกัดจากใบมะกอกฝรั่งขนาด 50 หรือ 100 มก./กก.น้ำหนักตัว/วัน เป็นเวลา 8 สัปดาห์ เปรียบเทียบกับการป้อนยาลดไขมัน atorvastatin ขนาด 20 มก./กก.น้ำหนักตัว/วัน ผลการศึกษาพบว่าสารสกัดจากใบมะกอกฝรั่งมีผลลดปริมาณคอเลสเตรอลรวม และ LDL-cholesterol ในเลื...
กลไกการออกฤทธิ์บรรเทาปวดของสารสกัดจากดอกบัว
กลไกการออกฤทธิ์บรรเทาปวดของสารสกัดจากดอกบัว3) ของดอกบัว (Nelumbo nucifera Geartn.) โดยทำการแยกสารสำคัญต่างๆ ออกมาด้วยวิธีทางเคมีพบว่ามีสารในกลุ่ม aporphines 3 ชนิด คือ nuciferine, N-nor-nuciferine, asimilobine, สารในกลุ่ม benzyltetrahydroisoquinoline (BTIQ) 5 ชนิด คือ armepavine, O-methylcoclaurine, N-methylcoclaurine, coclaurine, neferine และกรดไขมันที่ผสมกันระหว่าง linoleic และ palmitic acids อัตราส่วน 1:1 การศึกษาในหลอดทดลองเพื่อดูการเข้าจับกับตัวรับ cannabinoid (CB1, CB2) และ opioid delta [...
ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและต้านเชื้อจุลชีพของสะตอ
ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและต้านเชื้อจุลชีพของสะตอการศึกษาสารสำคัญและฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระและต้านเชื้อจุลชีพของสารสกัดจากฝักสะตอ 2 ชนิด ได้แก่ สะตอข้าว และสะตอดาน พบว่าสะตอดานจะมีปริมาณของสารฟีนอลิกและฟลาโวนอยด์สูงกว่าสะตอข้าว สารสกัด 50% เอทานอลจากฝักสะตอทั้ง 2 ชนิด มีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระ เมื่อทดสอบด้วยวิธี DPPH, ABTS และ metal ion chelating assay โดยสารสกัดจากสะตอข้าวจะมีฤทธิ์ดีกว่า นอกจากนี้สารสกัดทั้งสองยังมีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียก่อโรคในอาหาร (Bacillus cereus, Escherichia coli, Listeri...
การศึกษาประสิทธิภาพของน้ำผึ้งและน้ำมันสมุนไพรไทยในการรักษาแผลกดทับ
การศึกษาประสิทธิภาพของน้ำผึ้งและน้ำมันสมุนไพรไทยในการรักษาแผลกดทับการศึกษาประสิทธิภาพในการบรรเทาแผลกดทับของการรักษาแบบการแพทย์แผนไทยโดยใช้น้ำผึ้งและน้ำมันสมุนไพรไทย ซึ่งเตรียมด้วยวิธีการทอดใบพญายอ (Clinancnathus nutans (Burm. F.) Lindau) และเหง้าไพล (Zingiber montanumContemp Clin Trials Commun. 2020;17:100538. ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล...
ฤทธิ์ต้านภาวะลำไส้อักเสบจากผลแก้วมังกร
ฤทธิ์ต้านภาวะลำไส้อักเสบจากผลแก้วมังกรการทดสอบฤทธิ์ต้านภาวะลำไส้อักเสบของสารสกัดเอทานอลจากเนื้อผลของแก้วมังกรพันธุ์เนื้อแดง (Hylocereus polyrhizus ) ในหนูเม้าส์ที่ถูกเหนี่ยวนำด้วยสาร 2,4,6-trinitrobenzenesulphonic (TNBS) โดยให้สารสกัดเอทานอลในขนาด 1 ก./กก. เข้าทางช่องท้องหลังการเหนี่ยวนำให้เกิดการอักเสบเป็นเวลา 6 ชั่วโมง 30 นาที พบว่าสารสกัดแก้วมังกรสามารถป้องกันการลดลงของน้ำหนักตัว ทำให้การถูกทำลายของลำไส้รวมทั้งการทำงานของเอนไซม์ myeloperoxidase (MPO) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการอักเสบลดลง นอกจากนี้ย...
ฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดของบัวบก
ฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดของบัวบก (Centella asiatica )J Ethnopharmacol 2016;180:60-9 ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล...
ฤทธิ์ต้านเชื้อจุลชีพจากน้ำมันสะเดา
ฤทธิ์ต้านเชื้อจุลชีพจากน้ำมันสะเดา NIM-76 ซึ่งเป็นส่วนสกัดที่แยกได้จากน้ำมันสะเดา( Azadirachta indica A. JUSS.) นอกจากมีฤทธิ์ฆ่าสเปอร์มยังพบว่ามีฤทธิ์ในการต้านเชื้อจุลชีพที่ทำให้เกิดโรคหลายชนิด เช่น Escherichia coli และ Klebsiella pneumoniae ในขณะที่น้ำมันสะเดาไม่แสดงฤทธ์ดังกล่าว ส่วนสกัด NIM-76 ยังให้ผลต้านเชื้อรา Candida albicans และยับยั้งการขยายพันธุ์ของโปลิโอไวรัสในหลอดทดลอง การทดลองในหนูที่ติดเชื้อรา C. albicans พบว่า NIM-7...
ผลของสาร
ผลของสาร quercetin และ curcumin ในการปกป้องการทำลาย ตับ ไต และเลือด ของยาพาราเซตามอลในหนูแรทการศึกษาผลของการได้รับสาร quercetin (พบได้ในพืชหลายชนิด เช่น บร็อคโคลี่ ผักกาดหอม แอ๊ปเปิ้ล มะเขือเทศ หัวหอม ชา และกาแฟ) และสาร curcumin (พบได้ในขมิ้น) ในหนูแรทเพศผู้ที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดความผิดปกติจากภาวะออกซิชั่น ตับถูกทำลาย ไตทำหน้าที่ผิดปกติ และเลือดเป็นพิษ จากการได้รับยาพาราเซตามอลขนาด 650 มก./กก. ซึ่งทำให้หนูมีระดับของ thiobarbituric acid-reactive substances (TBARS) เพิ่มขึ้น ในขณะที่ปริมาณของ glut...
ฤทธิ์ลดอาการเหนื่อยล้าของฟ้าทะลายโจร
ฤทธิ์ลดอาการเหนื่อยล้าของฟ้าทะลายโจรการศึกษาทางคลินิกแบบ a randomised double-blind placebo-controlled trial ในผู้ป่วยโรคมัลติเพิลสเกลอโรซิส หรือโรคเอ็มเอส หรือปลอกประสาทอักเสบ ที่พบการเป็นซ้ำ (relapsing-remitting multiple sclerosis; RRMS) และได้รับการรักษาด้วย interferon beta (IFN-β) จำนวน 22 คน อายุระหว่าง 18-50 ปี โดยแบ่งออกเป็นกลุ่มที่ได้รับยาเม็ดสารสกัดฟ้าทะลายโจร (Andrographis paniculata (Burm.f.) Nees) 170 มก. (ประกอบด้วยสาร andrographolides 85 มก.) ทุก 12 ชั่วโมง ต่อเนื่องเป็นเวลา 12...