-
ผลวิจัยสมุนไพร Thai Herb Research.
-
ฤทธิ์การหลั่งสารเมือกของเหง้าขิงในการป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร
ข่าวความเคลื่อนไหว ผลวิจัยจากการทดลอง ของ สมุนไพร ชนิดต่างๆ
ฤทธิ์การหลั่งสารเมือกของเหง้าขิงในการป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร
ศึกษาในหนูแรทเพศผู้ที่อดอาหารมานาน 24 ชม. จากนั้นแบ่งหนูออกเป็น 6 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มควบคุม ป้อน 1% sodium carboxy-methyl cellulose กลุ่มที่ 2-5 ป้อนสารสกัดจากเหง้าขิง ขนาด 0.1, 0.25, 0.5 และ 1.0 มก./กก. ทางสายยางให้อาหาร ตามลำดับ กลุ่มที่ 6 เป็นกลุ่มที่ได้รับยาแผนปัจจุบัน ranitidine ขนาด 50 มก./กก. หลังจากนั้น 30 นาที เหนี่ยวนำหนูให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารด้วยกรดไฮโดรคลอริค ด้วยความเครียดโดยการขังกรงและแช่น้ำ (water immersion restrain stress) และ aspirin พบว่าสารสกัดจากเหง้าขิงขนาด 1 มก./กก. ได้ผลดีที่สุดโดยสามารถลดการเกิดแผลในกระเพาะอาหารของหนูแรทได้ถึง 81.7, 44.1, 68.2% ตามลำดับ เมื่อเหนี่ยวนำด้วยกรดไฮโดรคลอริค ความเครียด และ aspirin ตามลำดับ ในขณะที่กลุ่มที่ได้รับยาแผนปัจจุบัน (ranitidine) สามารถลดการเกิดแผลในกระเพาะอาหารได้ 68.7, 86.4 และ 95.5% เมื่อเหนี่ยวนำด้วยกรดไฮโดรคลอริค ความเครียดโดยการขังกรงและแช่น้ำ และ aspirin ตามลำดับ เช่นกัน ซึ่งจากการศึกษาพบว่ากลุ่มที่ได้รับสารสกัดจากเหง้าขิงมีการหลั่งสารเมือกในกระเพาะอาหารมาก แต่ไม่มีผลต่อค่าความเป็นกรด-ด่าง ของสารเมือกในกระเพาะอาหาร และการหลั่งเอนไซม์เปบซิน จากการศึกษานี้สรุปได้ว่าสารสกัดจากเหง้าขิงสามารถป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารได้ปานกลางโดยไปเพิ่มการหลั่งสารเมือกมาเคลือบกระเพาะอาหารของหนูแรท
Thai Journal of Pharmaceutical Sciences 2016;40:1-8.ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
บทความอื่นๆ
ฤทธิ์ปกป้องตับของใบแป๊ะก๊วย
ฤทธิ์ปกป้องตับของใบแป๊ะก๊วยการศึกษาผลของสาร polyprenols จากใบแป๊ะก๊วยในการปกป้องตับของหนูแรทที่ถูกเหนี่ยวนำให้ตับถูกทำลายด้วยสารคาร์บอนเตตระคลอไรด์ เปรียบเทียบกับยา Essentiale ซึ่งเป็นยาที่ใช้ในผู้ป่วยที่เป็น โรคเกี่ยวกับตับ พบว่าสาร polyprenols ที่ขนาด 40 และ 60 มก./กก. มีผลลดระดับของเอนไซม์ตับ Aspartate aminotranferase (AST), Alanine aminotransferase (ALT), Alkaline phoaphatase (ALP) และเพิ่มระดับของอัลบูมินและโปรตีนรวม ส่วนขนาด 10 มก./กก. มีผลเพียงเล็กน้อย ขณะที่ยา Essentiale ขนาด 360 มก./กก....
ฤทธิ์ต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหารของสาร
ฤทธิ์ต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหารของสาร bisdemethoxycurcumin และ curcumin จากขมิ้นสาร bisdemethoxycurcumin และ curcumin จากขมิ้น ความเข้มข้น 3, 10 และ 30 ไมโครโมล มีผลยับยั้งการสร้างไนตริกออกไซด์ เอนไซม์ inducible nitric oxide synthase (iNOS) และลดการแสดงออกของยีน iNOS mRNA ในเซลล์ macrophage RAW 264.7 ที่ถูกกระตุ้นด้วย lipopolysaccharide สาร curcumin มีผลยับยั้ง tumor necrosis factor-alpha (TNF-α) และลดการแสดงออกของยีน TNF-α mRNA ขณะที่ bisdemethoxycurcumin ไม่มีผล สำหรับการทดล...
ฤทธิ์ต้านอาการผื่นภูมิแพ้ผิวหนังของโสม
ฤทธิ์ต้านอาการผื่นภูมิแพ้ผิวหนังของโสมการศึกษาฤทธิ์ต้านอาการผื่นภูมิแพ้ผิวหนังของสาร 20-O-β-D-glucopyranosyl-20(S)-protopanaxadiol (GPD) ซึ่งเป็นสารเมตาโบไลท์หลักของสารจินเซนโนไซม์ (ginsenoside) โดยทำการทดสอบฤทธิ์ของสารสกัดโสมที่มีสาร GPD 8.29% (GPD-fortified ginseng extract ; GFGE) ในหนูเม้าส์ชนิด NC/Nga โดยให้สาร GFGE ขนาด 100 มก./กก./วัน ทางปากแก่หนูเป็นเวลา 52 วัน และในวันที่ 28 ของการทดลองเริ่มเหนี่ยวนำให้หนูเกิดอาการผื่นแพ้ที่ผิวหนังบริเวณหลังด้วยการทาครีมที่มีสารสกัดจากตัวไร...
สารอาหารและสารสำคัญในผลไม้พื้นเมืองของไทย
สารอาหารและสารสำคัญในผลไม้พื้นเมืองของไทยการศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของผลไม้พื้นเมืองของไทย 3 ชนิด ที่เก็บรวบรวมจากพื้นที่อนุรักษ์ในเขตจังหวัดกาญจนบุรี ได้แก่ มะขามป้อม มะเม่า และมะกอก ในแง่ของสารอาหาร สารสำคัญ และฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระ เมื่อวัดด้วยวิธี 2,2-diphenyl-1-picrylhydrazyl (DPPH), Ferric reducing antioxidant power (FPAP) และ Oxygen radical absorbance capacity (ORAC) พบว่ามะขามป้อมจะมีปริมาณของวิตามินซี สารฟีนอลิกรวม และฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูงสุด ขณะที่มะเม่าจะมีปริมาณของสารอาหาร คาโร...
ฤทธิ์ป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารของสารสกัดเอทานอลจากเหง้าขิงแครง
ฤทธิ์ป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารของสารสกัดเอทานอลจากเหง้าขิงแครงการศึกษาฤทธิ์ป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารของสารสกัดเอทานอลจากเหง้าขิงแครง (Zingiber simaoense Y. Y. Qian) ในหนูแรท โดยป้อนสารสกัดขนาด 7.5, 15 และ 30 มก./กก. เป็นเวลา 1 ชม. ก่อนการเหนี่ยวนำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารด้วยเอทานอล/กรดไฮโดรคลอริก ยาอินโดเมทาซิน (indomethacin) และการแช่น้ำเย็นเพื่อกระตุ้นให้เกิดความเครียด เปรียบเทียบผลกับกลุ่มที่ได้รับยาไซเมทิดีน (cimetidine) ขนาด 100 มก./กก. และกลุ่มควบคุม พบว่าสารสกัดและยาไซเมทิดีน ...
ผลบรรเทาอาการหวัดของสารสกัดฟ้าทะลายโจร
ผลบรรเทาอาการหวัดของสารสกัดฟ้าทะลายโจร การศึกษาทางคลินิกเพื่อประเมินประสิทธิภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ยาเม็ดซึ่งเตรียมจากสารสกัดฟ้าทะลายโจร ( Andrographis paniculata Burm.f.Nees ) ในผู้เป็นหวัดจำนวน 158 คน พบว่ามีประสิทธิภาพในการลดอาการต่างๆ ตั้งแต่วันที่ 2 ของการรักษา โดยลดอาการอ่อนเพลีย นอนไม่หลับ เจ็บคอ น้ำมูกไหล และไม่พบอาการข้างเคียงของยา ในยาเม็ด 1 เม็ด ประกอบด้วยสารสกัดฟ้าทะลายโจร 100 มิลลิกรัม ควบคุมคุณภาพมาตรฐานให้มีปริมาณแ...
ฤทธิ์เป็นพิษต่อเซลล์ของเปล้าใหญ่
ฤทธิ์เป็นพิษต่อเซลล์ของเปล้าใหญ่ สาร labdane diterpenoids 3 ชนิด ได้แก่ 2-acetoxy-3-hydroxy-labda-8(17),12(E)-14-triene , 3-acetoxy-2-hydroxy-labda-8(17),12(E)-14-triene และ 2,3-dihydroxy-labda-8(17),12(E)-14-triene ซึ่งได้จากสารสกัดเฮกเซนของเปลือกต้นเปล้าใหญ่( Croton oblongifolius Roxb. ) แสดงฤทธิ์เป็นพิษต่อเซลล์เนื้องอกของมนุษย์ โดยสารชนิดที่1 และ 2 มีความจำเพาะต่อเซลล์เนื้องอกแต่มีฤทธิ์น้อยกว่าสารชนิดที่ 3 ซึ่งอาจเป็นผลจากโครง...
สารสกัดโสมอเมริกัน
สารสกัดโสมอเมริกัน (HT1001) ช่วยให้การทำงานของสมองด้านความจำดีขึ้นในผู้ป่วยจิตเภทการศึกษาแบบอำพรางทั้งสองฝ่ายและเปรียบเทียบกับยาหลอก (double blind placebo controlled) ในผู้ป่วยจิตเภท 64 ราย อายุระหว่าง 18-55 ปี โดยแบ่งผู้ป่วยออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ให้รับประทานสารสกัดโสมอเริกัน (HT1001) ขนาด 100 มก.วันละ 2 ครั้ง (สารสกัดโสมอเริกัน HT1001 100 มก.เทียบเท่ากับรากโสมอเมริกันแห้ง 500 มก.) นาน 4 สัปดาห์ ส่วนกลุ่มที่ 2 ได้รับยาหลอก และวัดการทำงานของสมองด้านความจำด้วยวิธี Letter-Number Span Test ...
ฤทธิ์ต้านการเกิดออกซิเดชั่น
ฤทธิ์ต้านการเกิดออกซิเดชั่น และลดคอเลสเตอรอลของงาการศึกษาในหนูขาวจำนวน 48 ตัว แบ่งเป็น 6 กลุ่มๆ ละ 8 ตัว กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มควบคุมเป็นหนูปกติให้กินอาหารปกติ กลุ่มที่ 2 และ 3 เป็นหนูปกติและให้กินอาหารที่มีส่วนผสมของผงงา 5% และ 10% ตามลำดับ กลุ่มที่4 เป็นหนูที่เหนี่ยวนำให้มีระดับคอเลสเตอรอลสูง โดยให้กินอาหารที่มีส่วนผสมของคอเลสเตอรอล 0.5% และ sodium taurocholate 1% ในอาหาร กลุ่มที่ 5 และ 6 เป็นหนูที่มีระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูง และกินอาหารที่มีส่วนผสมของผงงา 5% และ 10% ตามลำดับ ทำการทดลองนาน...