-
ผลวิจัยสมุนไพร Thai Herb Research.
-
ดอกบัวหลวงช่วยป้องกันภาวะความจำบกพร่องจากภาวะเครียด
ข่าวความเคลื่อนไหว ผลวิจัยจากการทดลอง ของ สมุนไพร ชนิดต่างๆ
ดอกบัวหลวงช่วยป้องกันภาวะความจำบกพร่องจากภาวะเครียด
การศึกษาป้อนสารสกัด 50% hydroalcoholic จากดอกบัวหลวงสีชมพู (Nelumbo nucifera Gaertn.) ขนาด 10, 100 และ 200 มก./กก.น้ำหนักตัว ให้แก่หนูแรท 45 นาที ก่อนกระตุ้นให้เกิดความเครียดแบบต่อเนื่อง 12 ชั่วโมง ติดต่อกัน 14 วัน แล้วประเมินความเสียหายของสมอง พบว่าสารสกัดจากดอกบัวป้องกันภาวะความจำบกพร่อง และลดระดับความเสียหายในสมองของหนูแรท ผ่านการยั้บยั้งการเกิด oxidative stress ในสมอง ลดระดับ corticosterone และลดการทำงานของเอนไซม์ acethylcholinesterase (AChE), monoamine oxidase type A (MAO-A) , monoamine oxidase type B (MAO-B) ซึ่งเพิ่มขึ้นจากการได้รับความเครียด นอกจากนี้กลุ่มที่ได้รับสารสกัดจากดอกบัวยังพบความหนาแน่นของเซลล์สมอง และการแสดงออกของโปรตีน Ki67 ในสมองส่วนฮิปโปแคมปัสเพิ่มขึ้นด้วย แสดงให้เห็นว่าดอกบัวป้องกันความเสียหายของสมองที่เกิดจากความเครียดโดยอาศัยการต้านอนุมูลอิสระ การสร้างเซลล์ประสาทใหม่ ร่วมกับปรับปรุงการทำงานของสาร cholinergic และ monoaminergic ในสมอง
Oxid Med Cell Longev 2016:article ID 5789857: 11 pp.ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
บทความอื่นๆ
ฤทธิ์ของกระเทียมและวิตามินซีในการป้องกันความผิดปกติของตัวอ่อน
ฤทธิ์ของกระเทียมและวิตามินซีในการป้องกันความผิดปกติของตัวอ่อนการศึกษาฤทธิ์ของกระเทียมและวิตามินซีในการป้องกันความผิดปกติของตัวอ่อนของหนูที่ถูกเหนี่ยวนำด้วยยาฆ่าแมลง cypermetrin ทดลองในหนูแรทเพศผู้และเพศเมีย โดยแบ่งหนูออกเป็น 6 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มควบคุม กลุ่มที่ 1 คือ กลุ่มหนูเพศผู้ที่ได้รับยาฆ่าแมลง cypermetrin ขนาด 55.1 มก./กก. เป็นเวลา 60 วัน ก่อนที่จะผสมพันธุ์จับคู่กับหนูเพศเมียที่ไม่ได้รับยา กลุ่มที่ 2 คือ กลุ่มหนูเพศผู้ที่ไม่ได้รับยาจับคู่กับหนูเพศเมียที่ได้รับยาในช่วงวันที่ 6 - 15 ของการตั...
ประโยชน์ของคุณสมบัติความเป็นสารพรีไบโอติกของกระเจี๊ยบแดงในหนูเม้าส์ที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดภาวะอ้วน
ประโยชน์ของคุณสมบัติความเป็นสารพรีไบโอติกของกระเจี๊ยบแดงในหนูเม้าส์ที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดภาวะอ้วนการทดสอบผลของสารโพลีฟีนอลิกจากสารสกัดของกลีบเลี้ยงของกระเจี๊ยบแดง (Hibiscus sabdariffa) ในหนูเม้าส์ โดยแบ่งออกเป็น 6 กลุ่ม ได้แก่ หนูเม้าส์ที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดภาวะอ้วนที่ได้รับสารสกัดกระเจี๊ยบแดงขนาด 1, 10 และ 25 มก./กก./วัน กลุ่มควบคุมอาหาร กลุ่มควบคุมอาหารที่ได้รับสารสกัดกระเจี๊ยบแดง 25 มก./กก./วัน และกลุ่มที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดภาวะอ้วนแต่ไม่ได้รับสารสกัดกระเจี๊ยบแดง โดยให้สารผ่านทางปาก ทำการทดส...
ผลของการลดน้ำตาลของสารสกัดมะระด้วยน้ำในหนูที่ออกกำลัง
ผลของการลดน้ำตาลของสารสกัดมะระด้วยน้ำในหนูที่ออกกำลัง การทดสอบฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดของสารสกัดมะระในหนู พบว่าให้ผลดีในหนูเบาหวาน Type 2 ที่ออกกำลังร่วมด้วย โดยลดน้ำตาลได้มากกว่าการได้รับมะระหรือออกกำลังอย่างเดียว(Biol Pharm Bull 2004;27(2):248-50 ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล...
ฤทธิ์ลดเบาหวานของใบน้อยหน่า
ฤทธิ์ลดเบาหวานของใบน้อยหน่า ในประเทศอินเดียได้มีการใช้ใบน้อยหน่าอ่อนในการรักษาเบาหวาน จึงได้มีการศึกษาวิจัย โดยนำสารสกัดใบน้อยหน่าด้วยน้ำไปทดสอบในหนูขาวปกติ และหนูขาวที่เหนี่ยวนำให้เป็นเบาหวานด้วย streptozotocin พบว่าสามารถลดน้ำตาลได้หนูปกติ และหนูที่เป็นเบาหวาน ซึ่งกระบวนการออกฤทธิ์อาจจะผ่านการเสริมฤทธิ์ของอินซูลิน อาจโดยกระตุ้นให้มีการหลั่งอินซูลินเพิ่มขึ้น หรือทำให้ insulin จาก bound form เปลี่ยนมาเป็น free form มากขึ้น จึงเป็นผลให้อินซูลินในเลือดเพิ่มขึ้น ควรมีการศึกษาเพิ่มเติมถึ...
การศึกษาความเป็นพิษของสารสกัดจากใบมะรุม
การศึกษาความเป็นพิษของสารสกัดจากใบมะรุมการศึกษาความเป็นพิษเฉียบพลันของสารสกัดน้ำจากใบมะรุมในหนูเม้าส์ โดยป้อนสารสกัดน้ำ ขนาด 400 800 1,600 3,200 และ 6,400 มก./กก. หรือฉีดสารสกัดในขนาด 250 500 1,000 และ 2,000 มก./กก. เข้าทางช่องท้องของหนู พบว่าการป้อนสารสกัดทุกขนาดไม่ทำให้หนูตาย แต่มีผลลดการเคลื่อนไหวของหนู และบางตัวจะมีอาการเซื่องซึม เมื่อได้รับสารสกัดในขนาดสูง คือ 3,200 และ 6,400 มก./กก. ส่วนการฉีดสารสกัดในขนาด 1,000 และ 2,000 มก./กก. ทำให้หนูตาย 20% และ 80% ตามลำดับ และมีค่า LD50 เท่ากับ 1,585...
ผลของสารสกัดจากใบฝรั่งต่อเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับภาวะเบาหวาน
ผลของสารสกัดจากใบฝรั่งต่อเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับภาวะเบาหวานการทดสอบฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ dipeptidyl-peptidase IV (DP-IV) ซึ่งเป็นเอนไซม์สำคัญในกระบวนการควบคุมสมดุลของระดับน้ำตาลกลูโคสในร่างกาย ของสารในกลุ่ม flavonol glycosides ซึ่งแยกได้จากสารสกัดเอทานอล/น้ำ (8/2) จากใบฝรั่ง (Psidium guajava L.) ในหลอดทดลองพบว่า สารสกัดดังกล่าวสามารถยับยั้งเอนไซม์ DP-IV ได้ โดยมีค่าความเข้มข้นที่สามารถยับยั้งได้ 50% (IC50) เท่ากับ 380 มคก./มล. ซึ่งการยับยั้งเอนไซม์ DP-IV นี้ จะส่งผลให้เซลล์เกิดการหลั่งอินซูล...
ฤทธิ์ต้านการอักเสบและลดไข้จากลูกซัด
ฤทธิ์ต้านการอักเสบและลดไข้จากลูกซัด จากการทดลองในหนูที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดการบวมที่อุ้งเท้าหลังด้วย formalin และให้สารสกัดใบของต้นลูกซัด (Trigonella foenum - graecum Linn. ) เปรียบเทียบกับ sodium salicylate ( SS ) พบว่าสารสกัด 1000 mg/kg ได้ผลเทียบเท่ากับ SS 300 mg/kg และสารสกัดในขนาด 2000 mg/kg จะออกฤทธิ์ได้แรงกว่า เมื่อทดลองในระยะยาว ( chronic administration ) พบว่าสารสกัดลูกซัดจะให้ผลดีกว่า SS เมื่อทดลองในหนูที่ถูกเหนี่ยวนำให้เป็...
ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและปกป้องตับของสาร
ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและปกป้องตับของสาร procyanidins จากเปลือกอัลมอนด์สาร procyanidins ที่สกัดได้จากเปลือกอัลมอนด์ (almond skins) ความเข้มข้น 10, 25 และ 50 มคก./มล. มีฤทธิ์เพิ่มการแสดงออกของเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการกำจัดสารพิษและการต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย (phase II detoxifying and antioxidant enzymes) ได้แก่ NAD(P)H:quinoneoxidoreductase 1, catalase, glutathione peroxidase, และ superoxide dismutase เพิ่มการแสดงออกของยีนของ nuclear factor-E2-related factor 2 (Nrf2) และ antioxidant response elem...
ฤทธิ์ต้านภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันของสารซาโปนินจากดอกชั่งชิก
ฤทธิ์ต้านภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันของสารซาโปนินจากดอกชั่งชิกการศึกษาฤทธิ์ต้านภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (Acute myocardial infarction; AMI) ของสารในกลุ่มซาโปนินซึ่งแยกได้จากดอกตูม (flower buds) ของชั่งชิกหรือโสมจีน (Panax notoginseng ; FS) พบว่าสาร FS ขนาด 50, 100 หรือ 200 มคก./มล. สามารถกระตุ้นการเคลื่อนตัวของ human umbilical vein endothelial cells (HUVECs) จากการเหนี่ยวนำด้วย vascular endothelial growth factor (VEGF) ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับการสร้างหลอดเลือด และทำให้หลอดเลือดที่ผิดปก...