-
ผลวิจัยสมุนไพร Thai Herb Research.
-
ฤทธิ์ปกป้องไตของชาเขียว
ข่าวความเคลื่อนไหว ผลวิจัยจากการทดลอง ของ สมุนไพร ชนิดต่างๆ
ฤทธิ์ปกป้องไตของชาเขียว
การศึกษาฤทธิ์ของชาเขียว (Camelia sinensis (L.) Kuntze) ต่อการปกป้องความเสียหายของไตจากการได้รับยา gentamicin ทดสอบโดยฉีดสารสกัดเอทานอลจากชาเขียวขนาด 300 มก./กก./วัน เข้าทางช่องท้องของหนูแรท ติดต่อกัน 15 วัน ร่วมกับการกระตุ้นให้พิษต่อไตด้วยยา gentamicin ขนาด 100 มก./กก./วัน พบว่าชาเขียวสามารถปกป้องไต โดยลดระดับ creatinine และยูเรียที่เพิ่มขึ้นจากการได้รับ gentamicin ชาเขียวยังให้ผลต้านอนุมูลอิสระ ลดระดับ advanced oxidation protein products (AOPP) ยับยั้งการเกิด lipid peroxidation และเพิ่มการทำงานของเอนไซม์ต้านอนุมูลอิสระ เช่น catalase นอกจากนี้สารสกัดจากชาเขียวยังช่วยป้องกันการเปลี่ยนแปลงทางจุลพยาธิของไต ชะลอการตายแบบ necrosis ของเซลล์ไต ลดการเกิดช่องว่างในไซโตพลาสซึมและการแทรกซึมของสารก่อการอักเสบในไตได้อีกด้วย
Life Sci 2016;147:85-91ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
บทความอื่นๆ
ผลในการบรรเทาอาการโรคลำไส้แปรปรวน
ผลในการบรรเทาอาการโรคลำไส้แปรปรวน (Irritable Bowel Syndrome) ของขมิ้นและว่านชักมดลูกการศึกษาทางคลินิกในผู้ป่วยโรคลำไส้แปรปรวน (Irritable Bowel Syndrome) ทั้งหญิงและชายอายุ 18-70 ปี จำนวน 99 คน แบ่งออกเป็นกลุ่มที่ได้รับแคปซูล (soft gel) ตำรับสมุนไพรIQP-CL-101 (Xanthofen) ที่มีส่วนผสมหลัก คือ สารเคอคิวมินอยด์ (curcuminoids) จากขมิ้น (Curcuma longa) และน้ำมันหอมระเหยจากว่านชักมดลูก (Curcuma xanthorrhiza) ปริมาณรวม 330 มก. และส่วนผสมอื่นๆ ได้แก่ น้ำมันปลา (fish oil) 70 มก. น้ำมันสะระแหน่ (peppermint...
ผลในการรักษาอาการแสบร้อนบริเวณหน้าอกของเส้นใยอาหารจากลูกซัด
ผลในการรักษาอาการแสบร้อนบริเวณหน้าอกของเส้นใยอาหารจากลูกซัดการศึกษาผลของผลิตภัณฑ์ซึ่งมีเส้นใยอาหารที่ละลายน้ำได้จากเมล็ดลูกซัดประกอบอยู่ 85% ในการรักษาอาการแสบร้อนบริเวณหน้าอก (heratburn) โดยทดลองในผู้ป่วยชายและหญิง จำนวน 45 คน อายุระหว่าง 36 - 62 ปี แบ่งผู้ป่วยออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ได้รับยาหลอก คือแคปซูลแป้ง วันละ 2 ครั้งๆ ละ 4 แคปซูล กลุ่มที่ได้รับยาลดกรด Ranitidine ขนาด 75 มก./เม็ด วันละ 2 ครั้งๆ ละ 1 เม็ด และกลุ่มที่ได้รับเส้นใยอาหารจากลูกซัด ขนาด 500 มก./แคปซูล วันละ 2 ครั้งๆ ละ 4 แคป...
สารสกัดจากดอกบัวหลวงช่วยลดน้ำตาลในเลือดและเพิ่มปริมาณอินซูลินในหนูที่เป็นเบาหวาน
สารสกัดจากดอกบัวหลวงช่วยลดน้ำตาลในเลือดและเพิ่มปริมาณอินซูลินในหนูที่เป็นเบาหวานการทดลองป้อนสารสกัด 90% เอทานอลจากดอกบัวหลวง ขนาด 250 มก./กก. น้ำหนักตัวให้หนูแรทที่ถูกชักนำให้เป็นเบาหวานด้วย streptozotocin โดยป้อนติดต่อกันทุกวันเป็นเวลา 8 สัปดาห์ จากการตรวจวัดปริมาณน้ำตาลในเลือดหลังจบการทดลองพบว่า การป้อนสารสกัด 90% เอทานอลจากดอกบัวหลวงช่วยลดน้ำตาลในเลือดของหนูแรทที่เป็นเบาหวานลง 51.41 ± 1.44% นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มปริมาณอินซูลินได้อย่างมีนัยสำคัญ และให้ผลการรักษาไม่แตกต่างกับหนูแรทที่ป้อน...
ฤทธิ์ต้านเชื้อจุลชีพของทองกวาว
ฤทธิ์ต้านเชื้อจุลชีพของทองกวาว สารสกัดเมทานอลของใบ, ลำต้น และดอกทองกวาว ( Butea monosperma Kuntze ) ถูกแบ่งเป็นส่วนสกัดของเฮกเซน (n-hexane), เอทิล อะซีเตต (ethyl-acetate) และ บิวทานอล (n-butanol) จากนั้นนำแต่ละส่วนสกัดไปทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อโดยวิธี disk diffusion ให้ผลดังนี้ ส่วนสกัดเอทิล อะซีเตตของใบมีฤทธิ์แรงในการต้านเชื้อแบคทีเรีย Staphylococcus aureus และ S. epidermidis และต้านเชื้อรา Trichophyton mentagrophytes และ Microspor...
ผลของสารสกัดจากบัวบกในการรักษาแผลที่เท้าของผู้ป่วยเบาหวาน
ผลของสารสกัดจากบัวบกในการรักษาแผลที่เท้าของผู้ป่วยเบาหวานการศึกษาประสิทธิผลในการรักษาแผลของสารสกัดจากบัวบกชนิดรับประทานในผู้ป่วยเบาหวาน ซึ่งมีแผลที่เท้า จำนวน 170 คน โดยแบ่งผู้ป่วยออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ได้รับแคปซูลสารสกัดจากบัวบก (มีสารสกัด asiaticoside 50 มก./แคปซูล) และกลุ่มที่ได้ยาหลอก ให้รับประทานครั้งละ 2 แคปซูล หลังอาหาร วันละ 3 ครั้ง เป็นเวลา 21 วัน พบว่าในกลุ่มที่ได้รับสารสกัดจากบัวบก จะมีการหายของแผลที่เร็วขึ้น และมีการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อที่แผลผิดปกติ (granulation tissue fo...
ฤทธิ์ต้านอาการข้ออักเสบของกระชับ
ฤทธิ์ต้านอาการข้ออักเสบของกระชับ (Xanthium strumarium )J Ethnopharmacol. 2014; 155(1): 248-55 ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล...
ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและต้านเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดสิวของสารสำคัญจากมังคุด
ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและต้านเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดสิวของสารสำคัญจากมังคุดเปรียบเทียบปริมาณสารสำคัญ ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และต้านเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดสิวของสารสกัด 95% เอทานอลจากผลมังคุดอ่อนกับผลมังคุดแก่ พบว่าสารสกัดจากผลอ่อน มีปริมาณของสารฟีนอลิกและแทนนินสูงกว่า ขณะที่สารสกัดจากผลแก่จะมีปริมาณของสารฟลาโวนอยด์ และ α-mangostin สูงกว่า เมื่อศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาพบว่า สารสกัดทั้ง 2 มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระได้แต่สารสกัดจากผลอ่อนจะมีฤทธิ์สูงกว่าสารสกัดจากผลแก่ 2 เท่า (EC50 เท่ากับ 5.56 แ...
ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและต้านเบาหวานจากเปลือกขนุน
ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและต้านเบาหวานจากเปลือกขนุนขนุน (Artocarpus heterophyllus Lam.) เป็นผลไม้ที่ปลูกกันอย่างกว้างขวางในหลายประเทศ เช่น มาเลเซีย ศรีลังกา อินเดีย พม่า จีน เป็นต้น ผลของขนุนประกอบด้วย เปลือก เนื้อหุ้มเมล็ด ซัง และเมล็ดขนุน ซึ่งส่วนเปลือกเป็นของเหลือทิ้งในอุตสาหกรรมการผลิตและแปรรูปขนุน เมื่อเปรียบเทียบปริมาณสารในกลุ่ม phenolics และ flavonoids ระหว่างส่วนต่างๆ ของขนุน พบว่า สารสกัด 90% เมทานอลจากเปลือกขนุนมีปริมาณมากที่สุด โดยมีสารในกลุ่ม phenolics มากกว่าสารสกัดจากส่วนเนื้อหุ้มเมล็ด...
ฤทธิ์แก้ปวด
ฤทธิ์แก้ปวด ลดอักเสบ และรักษาแผลของใบฝรั่ง นักวิจัยจากอินเดียได้ทดสอบฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของใบฝรั่ง พบว่าสารสกัดใบฝรั่งด้วยน้ำมีฤทธิ์ยับยั้งแผลในกระเพาะอาหารเมื่อให้ในขนาด 600 มก./100 ก. น.น.หนู ส่วนสารสกัดน้ำต้มของใบสดแสดงฤทธิ์แก้ปวด และแก้อักเสบ Indian Drugs 1999;36(6):363-7. ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล...