Menu

ข่าวความเคลื่อนไหว ผลวิจัยจากการทดลอง ของ สมุนไพร ชนิดต่างๆ

ฤทธิ์กระตุ้นตัวรับ GABAA จากสารสำคัญในสาเกญี่ปุ่น

สาเกคือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของญี่ปุ่นที่ได้จากการหมักบ่มข้าว น้ำ โกจิ (ราสายพันธุ์ Aspergillus oryzae เจริญอยู่บนเมล็ดข้าว) และยีสต์ Saccharomyces cerevisiae การศึกษาผลของสารสำคัญต่างๆ จากสาเกญี่ปุ่นต่อตัวรับ γ-aminobutyric acid (GABA)A ในไข่กบสายพันธุ์ Xenopus พบว่าส่วนสกัดที่มีสารในกลุ่มกรดอินทรีย์ มีฤทธิ์กระตุ้นตัวรับ GABAA (GABAA receptor agonists) และเมื่อนำไปวิเคราะห์ทางเคมีพบว่ามีสารต่างๆ ถึง 64 ชนิด และมีจำนวน 13 ชนิดที่มีฤทธิ์กระตุ้นตัวรับ GABAA โดยที่สาร L-lactic acid มีฤทธิ์สูงสุด ซึ่งมีค่าความเข้มข้นที่ออกฤทธิ์กระตุ้นได้ 50% เท่ากับ 37 ไมโครโมลาร์ และการทดสอบโดยฉีดสาร L-lactic acid, gluconic acid, และ pyruvic acid ซึ่งแยกได้จากส่วนสกัดดังกล่าวเช่นกัน เข้าทางช่องท้องของหนูเม้าส์ในขนาด 10, 10, และ 5 มก./นน.ตัว 1 กก. ตามลำดับ ก็พบว่าหนูมีอาการวิตกกังวลลดลงเมื่อทำการทดสอบด้วย Elevated plus-maze test ซึ่งคาดว่าเกิดจากฤทธิ์กระตุ้นตัวรับ GABAA ของสารทดสอบ

Food Chem 2017;214:354-9.

ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

1

2

3

4

5

6

บทความอื่นๆ

691

ผลของสารสกัดจากเห็ดหลินจือต่อการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ไขมัน
ผลของสารสกัดจากเห็ดหลินจือต่อการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ไขมัน (adipocyte) และการแสดงออกของยีนที่เกี่ยวของกับการสร้าง adiponectin ในเซลล์ 3T3-L1การศึกษาผลของสารสกัดเห็ดหลินจือ (Ganoderma lucidum ) (GE) ต่อกลุ่มอาการความผิดปกติของระบบเผาผลาญอาหารของร่างกาย (metabolic syndrome) ในเซลล์ murine pre-adipocyte cell line (3T3-L1) ซึ่งกลุ่มอาการดังกล่าวประกอบด้วยความผิดปกติของไขมันในเลือด ความดันโลหิต และระดับน้ำตาลในเลือด พบว่า GE มีฤทธิ์กระตุ้นการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ไขมัน (adipocyte differentiation) และ...

919

ฤทธิ์ต้านการอักเสบจากใบขลู่
ฤทธิ์ต้านการอักเสบจากใบขลู่การศึกษาฤทธิ์ต้านการอักเสบของใบขลู่ (Pluchea indica 2J Ethnopharmacol 2013;146:495 - 504 ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล...

611

การบริโภคผลไม้ไทยมีผลเพิ่มปริมาณสารเมลาโตนิน
การบริโภคผลไม้ไทยมีผลเพิ่มปริมาณสารเมลาโตนิน (melatonin)สารเมลาโตนินเป็นสารที่มีฤทธิ์ต้านการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง ต้านการเกิดอนุมูลอิสระ และเพิ่มภูมิต้านทานให้กับร่างกาย การศึกษาในครั้งนี้เป็นการศึกษาดูปริมาณของสารเมลาโตนินก่อนและหลังการทดลอง โดยทำการศึกษาแบบ crossover ในอาสาสมัครที่มีสุขภาพดีเป็นชาย 15 คน และหญิง 15 คน อายุระหว่าง 18 - 25 ปี อาสาสมัครทุกคนต้องรับประทานผลไม้ทั้ง 6 ชนิดที่มีสารเมลาโตนินค่อนข้างสูง (กล้วย สับปะรด ส้ม มะละกอ มะเม่า และมะม่วง) โดยรับประทานทีละชนิดในรูปของผลไม้ส...

1314

การศึกษาเปรียบเทียบระหว่างการรับประทานมะระขี้นกและมะขามป้อมต่อระดับไขมันในเลือดในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่
การศึกษาเปรียบเทียบระหว่างการรับประทานมะระขี้นกและมะขามป้อมต่อระดับไขมันในเลือดในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2Annals of Phytomedicine 2016;5(1):40-2. ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล...

1223

สารเคอร์คูมินยับยั้งฤทธิ์ต้านเซลล์มะเร็งของยาวินบลาสติน
สารเคอร์คูมินยับยั้งฤทธิ์ต้านเซลล์มะเร็งของยาวินบลาสตินการศึกษาอันตรกิริยาระหว่างยาและสารจากธรรมชาติของสารเคอร์คูมิน (curcumin) ซึ่งเป็นสารในกลุ่ม polyphenols ที่พบได้ในเหง้าของขมิ้นชัน (Curcuma longa Linn) พบว่าสารเคอร์คูมินเข้าจับกับบริเวณจำเพาะของไมโครทิวบูล (specific binding site on microtubules) ทำให้การออกฤทธิ์ของยารักษามะเร็งวินบลาสติน (vinblastine) ลดลง (ยาวินบลาสตินออกฤทธิ์ต้านมะเร็งโดยการเหนี่ยวนำให้ไมโครทิวบูลเกิดการสลายตัว (microtubule depolymerization) ส่งผลให้เซลล์ไม่สามารถแบ่งตัว...

1407

กลไกการเพิ่มความร้อนให้กับร่างกายของสารสำคัญจากชา
กลไกการเพิ่มความร้อนให้กับร่างกายของสารสำคัญจากชาการศึกษาทางคลินิกแบบปกปิดทางเดียว มียาหลอกเป็นกลุ่มควบคุม และมีการไขว้กลุ่ม (A randomized, single-blinded, placebo controlled, season-matched crossover trials) เพื่อศึกษาผลของสาร catechin และสาร caffeine จากชา (Camellia sinensis (L.) Kuntze) ต่อ brown adipose tissue (BAT) ซึ่งเป็นเนื้อเยื่อสะสมไขมันที่มีความเกี่ยวข้องกับการเพิ่มความร้อนให้กับร่างกายแบบไม่สั่น (nonshivering thermogenesis) โดยแบ่งเป็น 2 การทดลอง การทดลองที่ 1 เป็นการศึกษาผลแบบเฉียบพ...

1651

ผลของขิงต่อการลดระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน
ผลของขิงต่อการลดระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานการศึกษาทางคลินิกผลของขิง (Zingiber officinale Roscoe.; ginger) ต่อการลดระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 อายุระหว่าง 20 - 80 ปี ที่ใช้ยารักษาเบาหวานชนิดรับประทาน และมีค่า HbA1c ระหว่าง 6.0 - 10% โดยแบ่งผู้ป่วยออกเป็นกลุ่มทดสอบจำนวน 47 คน ให้รับประทานขิง 1.2 ก. (แคปซูลผงขิง 600 มก. วันละ 2 แคปซูล ก่อนอาหาร 30 นาที มื้อเช้าและเที่ยง) และกลุ่มควบคุมจำนวน 56 คน ให้รับประทานยาหลอก 1.2 ก. (microcrystalline cellulose) ทดสอบเป็นเวลา 90 วัน ป...

1664

การศึกษาประสิทธิภาพของแคปซูลขมิ้นชันในผู้ป่วยโรคโควิด-19
การศึกษาประสิทธิภาพของแคปซูลขมิ้นชันในผู้ป่วยโรคโควิด-19 ที่มีความรุนแรงของอาการระดับน้อยถึงปานกลางการศึกษาทางคลินิกแบบเปิด (open-label nonrandomized clinical trial) ถึงประสิทธิภาพของขมิ้นชันอนุภาคนาโน (nano-curcumin) ต่อการบรรเทาอาการของโรคโควิด-19 ในผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลและมีความรุนแรงของโรคในระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง จำนวน 41 ราย แบ่งผู้ป่วยออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ได้รับซอฟท์เจลแคปซูลขมิ้นชันอนุภาคนาโน (nano-curcumin: Sinacurcumin soft gel ซึ่งประกอบด้วยสารเคอร์คูมินอยด์ในรูป...

697

แคปไซซินจากพริกช่วยรักษาอาการข้อเข่าเสื่อม
แคปไซซินจากพริกช่วยรักษาอาการข้อเข่าเสื่อมการศึกษาแบบ cross-over, double blinded, randomized, controlled trial ในผู้ป่วยหญิงจำนวน 99 คน อายุ 44-82 ปี ที่มีอาการโรคข้อเข่าเสื่อมระดับรุนแรงเล็กน้อยถึงปานกลาง (ระดับความรุนแรงของข้อเสื่อมตามเกณฑ์ของ KL เกรด 2 จำนวน 83 คน และเกรด 3 จำนวน 16 คน) โดยแบ่งให้ผู้ป่วยได้รับยาทาแคปไซซิน (Capsika gel® มีแคปไซซิน 0.0125%) หรือยาหลอก ทาบริเวณเข่าวันละ 3 ครั้ง นาน 4 สัปดาห์ แล้วหยุดพัก 1 สัปดาห์ จากนั้นสลับการให้ยาระหว่างกลุ่มที่ได้รับยาแคปไซซินและยาหลอก แล...