-
ผลวิจัยสมุนไพร Thai Herb Research.
-
ผลของการรับประทานขิงต่อปริมาณน้ำนมของสตรีในระยะหลังคลอด
ข่าวความเคลื่อนไหว ผลวิจัยจากการทดลอง ของ สมุนไพร ชนิดต่างๆ
ผลของการรับประทานขิงต่อปริมาณน้ำนมของสตรีในระยะหลังคลอด
ศึกษาผลของการรับประทานขิงต่อปริมาณน้ำนมของอาสาสมัครหญิงในระยะ 1 สัปดาห์แรกหลังคลอด (early postpartum period) จำนวน 63 คน โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ให้รับประทานแคปซูลเหง้าขิงแห้งขนาด 500 มก./กก. วันละสองครั้ง และกลุ่มที่ 2 ให้รับประทานยาหลอก (กลุ่มควบคุม) นานติดต่อกัน 7 วัน และทำการวัดปริมาณน้ำนมในวันที่ 3 และ 7 ของการศึกษา พบว่าในวันที่ 3 หลังคลอดบุตร ปริมาณน้ำนมของอาสาสมัครที่รับประทานแคปซูลเหง้าขิงมีมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ (เฉลี่ย 191.0 ± 71.2 มล./วัน และ 135.0 ± 61.5 มล./วัน ตามลำดับ) แต่ในวันที่ 7 หลังคลอดบุตรพบว่า มีปริมาณน้ำนมไม่แตกต่างกันทั้งสองกลุ่ม และผลการตรวจวิเคราะห์ระดับฮอร์โมนโปรแลคติน (prolactin) ซึ่งมีหน้าที่กระตุ้นต่อมน้ำนมให้เกิดการสร้างและหลั่งน้ำนมพบว่า ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญระหว่างสองกลุ่ม ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าขิงมีฤทธิ์ช่วยกระตุ้นปริมาณน้ำนมในระยะเริ่มแรกหลังคลอด (immediate postpartum period) และไม่พบรายงานการเกิดอาการข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์
Breastfeed Med 2016;11(7):1-5.ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
บทความอื่นๆ
ฤทธิ์ต้านภาวะหัวใจเต้นผิดปกติจากสารสกัดของเมล็ดองุ่น
ฤทธิ์ต้านภาวะหัวใจเต้นผิดปกติจากสารสกัดของเมล็ดองุ่นการทดสอบฤทธิ์ของสาร proanthocyanidin extract (GSPE) จากเมล็ดองุ่น ซึ่งประกอบด้วย 56% dimeric proanthocyanidins, 12% trimeric proanthocyanidins,6.6% tetrameric proanthocyanidins, monomeric and high-molecular-weight oligomeric proanthocyanidins และ flavonoids ต่อกล้ามเนื้อหัวใจของหนูแรท ที่มีภาวะหัวใจขาดเลือด โดยผูกหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ 30 นาที แล้วเปิดหลอดเลือดให้ไปเลี้ยงหัวใจ (reperfusion) 120 นาที ป้อนหนูด้วย GSPE ขนาด 200 มก./กก./วัน เป็น...
สารสำคัญในเมล็ดตีนเป็ดทรายกับฤทธิ์ต้านเซลล์มะเร็งตับ
สารสำคัญในเมล็ดตีนเป็ดทรายกับฤทธิ์ต้านเซลล์มะเร็งตับการศึกษาผลของสาร neriifolin ซึ่งเป็นสารในกลุ่ม cardiac glycoside ที่แยกได้จากเมล็ดตีนเป็ดทราย (Cerbera manghas L.) ต่อเซลล์มะเร็งตับชนิด HepG2 พบว่าสารดังกล่าวลดอัตราการรอดชีวิตของเซลล์ ทำให้วัฏจักรของเซลล์หยุดในระยะ S และ G2/M และกระตุ้นกระบวนการตายของเซลล์มะเร็ง โดยสาร neriifolin ออกฤทธิ์ผ่านกลไกการกระตุ้นเอนไซม์ caspase-3, -8 และ -9 นอกจากนี้ยังเพิ่มการแสดงออกของ Fas และ FasL ซึ่งเป็นโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการตายของเซลล์ ซึ่งจากผล...
บอระเพ็ดและมะขามป้อมป้องกันการทำลายตับเนื่องจากยา
บอระเพ็ดและมะขามป้อมป้องกันการทำลายตับเนื่องจากยาเมื่อแบ่งหนูขาวออกเป็น 7 กลุ่ม (A-G) ป้อนยารักษาวัณโรค (ATT) ประกอบด้วย isoniazid 31.5 มก./กก., rifampicin 54 มก./กก. และ pyrazinamide 189 มก./กก. ทุกวัน นาน 90 วัน ทุกกลุ่มยกเว้นกลุ่ม A (กลุ่ม A จะได้รับ 0.5% carboxymethylcellulose) 1 ชม.หลังได้รับสารของทุกวัน กลุ่ม A และ B จะได้รับน้ำกลั่น กลุ่ม C จะได้รับสารสกัดด้วยน้ำจากลำต้นบอระเพ็ด (Tc) 100 มก./กก. กลุ่ม D จะได้รับสารสกัดด้วยน้ำจากผลมะขามป้อม (Pe) 300 มก./กก. กลุ่ม E จะได้รับ Tc 100 มก....
ฤทธิ์ต้านอาการเหนื่อยล้าของลูกพลัมในหนูแรท
ฤทธิ์ต้านอาการเหนื่อยล้าของลูกพลัมในหนูแรทการทดสอบฤทธิ์ต้านอาการเหนื่อยล้าของน้ำส้มสายชูหมักจากลูกพลัม (Prunus mume vinegar) โดยทำการทดสอบในเซลล์กล้ามเนื้อ C2C12 myoblasts และในหนูแรทที่ออกกำลังกายอย่างหนัก พบว่าการให้น้ำส้มสายชูลูกพลัมทางปากแก่หนูแรทมีผลเพิ่มความอดทนในการออกกำลังกายและการสะสมของ glycogen ในตับและกล้ามเนื้อ เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมที่ไม่ค่อยออกกำลังกาย (sedentary control) และกลุ่มควบคุมออกกำลังกาย (exercised control) และยังมีผลลดดัชนีชี้วัดที่เกี่ยวข้องกับอาการเหนื่อยล้า เ...
คาโมมายล์รักษาโรคสมาธิสั้น
คาโมมายล์รักษาโรคสมาธิสั้นเนื่องจากตัวอย่างที่ทำการศึกษามีขนาดเล็ก ฉะนั้นจึงยากต่อการสรุปผล การศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า คาโมมายล์อาจมีประสิทธิภาพเล็กน้อยต่อการรักษาโรคสมาธิสั้นในเด็กPhytomedicine 2009;16:284-286 ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล...
ฤทธิ์ปกป้องตับของสาร
ฤทธิ์ปกป้องตับของสาร non-phenolic diarylheptanoid จากว่านชักมดลูกเมื่อป้อนสารสกัดเอทานอลจากเหง้าว่านชักมดลูก (Curcuma comosa Roxb.) ขนาด 5-500 มก./กก. หรือฉีดสารกลุ่ม diarylheptanoids ที่แยกได้จากสารสกัด ได้แก่ (3R)-1,7-diphenyl-(4E,6E)-4,6-hep-tadien-3-ol (D-049) และ (3S)-1-(3,4-dihydroxy-phenyl)-7-phenyl-(6E)-6-hepten-3-ol (D-092) ขนาด 1-25 มก./กก. เข้าทางช่องท้องของหนูเม้าส์ก่อนเหนี่ยวนำให้เกิดพิษต่อตับด้วยสาร thioacetamide พบว่าสารสกัดว่านชักมดลูกมีผลลดระดับของเอนไซม์ alanine transaminase (A...
ผลลดน้ำตาลในเลือดของมะระขี้นก
ผลลดน้ำตาลในเลือดของมะระขี้นกเมื่อป้อนหนูเม้าส์ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ด้วยสารสกัดน้ำจากผลมะระขี้นก ขนาด 100 มก./กก. พบว่าระดับน้ำตาลในเลือดของหนูลดลงหลังจากการป้อน 2 และ 4 ชั่วโมง เมื่อเทียบกับหนูในกลุ่มควบคุม นอกจากนี้สารสกัดยังมีผลกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ adenosine monophosphate-activated protein kinase ในกล้ามเนื้อของหนู (ซึ่งเกี่ยวข้องในการควบคุมกระบวนการเมตาบอลิสมของกลูโคสและไขมัน) สรุปว่าฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดของมะระขี้นกส่วนหนึ่งมาจากการกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ adenosine monophosphate-ac...
สารสำคัญและฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของดอกข่า
สารสำคัญและฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของดอกข่าการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับข่าส่วนใหญ่นิยมศึกษาส่วนเหง้าเพราะเป็นส่วนที่นำมาใช้เป็นยาหรืออาหาร แต่ในการศึกษานี้ได้ทำการศึกษาสารสำคัญและฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของดอกข่า (Alpinia galanga) พบว่าดอกข่ามีพฤกษเคมีที่แตกต่างจากส่วนเหง้าอย่างชัดเจน สารที่พบในน้ำมันหอมระเหยจากส่วนดอกเป็นส่วนใหญ่คือสาร pentadecane และ α-humulene และพบว่าสาร 1′-acetoxyeugenol acetate เป็นสารที่พบได้มากที่สุดในส่วนสกัดเมทานอล ซึ่งมีฤทธิ์ต้านจุลชีพที่ดี โดยมีค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่สามาร...
สารเคอร์คูมินและวิตามินอีช่วยลดอาการร้อนวูบวาบในผู้หญิงวัยหลังหมดประจำเดือน
สารเคอร์คูมินและวิตามินอีช่วยลดอาการร้อนวูบวาบในผู้หญิงวัยหลังหมดประจำเดือนการศึกษาแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม ปกปิดสามทาง (triple-blind randomized controlled clinical trial) ในอาสาสมัครผู้หญิงวัยหลังหมดประจำเดือน จำนวน 93 คน อายุเฉลี่ย 51.7 ปี โดยสุ่มแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 ได้รับแคปซูลสารสกัดเคอร์คูมิน ขนาด 500 มก. กลุ่มที่ 2 ได้รับยาเม็ดวิตามินอี ขนาด 200 หน่วยสากล และกลุ่มที่ 3 ได้รับยาหลอก รับประทานวันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 8 สัปดาห์ อาสาสมัครจะได้รับการประเมินอาการร้อนวูบวาบ และอาการที่เก...