Menu

ข่าวความเคลื่อนไหว ผลวิจัยจากการทดลอง ของ สมุนไพร ชนิดต่างๆ

ฤทธิ์ต้านภาวะความจำเสื่อมจากใบบร็อคโคลี่

การศึกษาฤทธิ์ต้านภาวะความจำเสื่อมของส่วนสกัดคลอโรฟอร์มจากใบบร็อคโคลี่ (Brassica oleracea var. italica ; CBL) ในหลอดทดลองพบว่า CBL สามารถปกป้องเซลล์สมองและมีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ acetylcholinesterase (AChE) และการทดสอบในหนูเม้าส์ที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดความผิดปกติต่อการเรียนรู้และความจำจากการได้รับสาร amyloid beta (Aβ) โดยทำการทดสอบด้วย Y-maze, passive avoidance และ Morris water maze tests พบว่า CBL สามารถยับยั้งความผิดปกติดังกล่าวได้ นอกจากนี้ CBL ยังมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระโดยเพิ่มระดับของของเอนไซม์ superoxide dismutase และลดอัตราส่วนของ oxidized glutathione (GSH)/total GSH รวมทั้งลดระดับของ malondialdehyde (MDA) ซึ่งเพิ่มขึ้นจากการเหนี่ยวนำด้วยสาร Aβ และเมื่อทำการตรวจสอบเนื้อเยื่อในสมองของหนูเม้าส์พบว่า CBL สามารถยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ AChE จากการเหนี่ยวนำด้วยสาร Aβ ได้ด้วย และการทดสอบทางเคมีพบว่า CBL มีสาร oxo-dihydroxy-octadecenoic acid และสาร trihydroxyoctadecenoic acid เป็นส่วนประกอบหลัก ทำให้สามารถสรุปได้ว่า ส่วนสกัดคลอโรฟอร์มจากใบบร็อคโคลี่มีฤทธิ์ต้านภาวะความจำเสื่อมจากการเหนี่ยวนำด้วย Aβ ได้

J Agric Food Chem 2016;64:3353-61.

ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

1

2

3

4

5

6

บทความอื่นๆ

707

กลไกในการรักษาอาการท้องเสีย
กลไกในการรักษาอาการท้องเสีย และต้านการหดเกร็งในลำไส้ของมะขามป้อมการศึกษากลไกในการรักษาอาการท้องเสียของสารสกัดหยาบจากผลมะขามป้อม (Phyllanthus emblica  + (80 มิลลิโมล) ซึ่งให้ผลเช่นเดียวกับยา dicyclomine (ยาระงับอาการเกร็งของกล้ามเนื้อเรียบ) และการศึกษากลไกการออกฤทธิ์ในลำไส้เล็กส่วนไอเลียมของหนูตะเภา (guinea pig) โดยใช้ Pe.Cr ขนาด 0.3 และ 1 มก./มล. พบว่ามีกลไกการออกฤทธิ์เหมือนกับยา dicyclomine นั่นคือมีฤทธิ์เป็น anticholinergic และเป็น Ca2+ channel blocking (CCB) ซึ่งเป็นการออกฤทธิ์ต้านอาการห...

73

พืชวงศ์
พืชวงศ์ Zingiberaceae ต่อต้านสารเร่งการเกิดมะเร็ง สมุนไพรในวงศ์ Zingiberaceae 6 ชนิด คือ ขมิ้น ( Curcuma domestica Valeton ) ว่านชักมดลูก ( C. xanthorrhiza Roxb. ) เปราะหอม ( Kaempferia galanga L. ) ไพล ( Zingiber cassumunar Roxb.) ขิง ( Z. officinale Roscoe ) และกระทือ ( Z. zerumbet (L.) Smith ) มีผลต้านการกระตุ้นไวรัสเอพสเตนบาร์ด้วยสาร TPA( 12-o-tetradecanoyl phorbol-13-acetate ) ซึ่งเป็น tumour promoter (สารเร่งการเกิดมะเร็ง) ข้อมูลนี้เป็นประโ...

1461

สารสำคัญและฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของน้ำมันหอมระเหยจากใบขมิ้นม่วง
สารสำคัญและฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของน้ำมันหอมระเหยจากใบขมิ้นม่วงการศึกษาองค์ประกอบทางเคมีของและฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของน้ำมันหอมระเหยจากใบขมิ้นม่วง (Curcuma caesia Roxb.) พบสารสำคัญหลัก 2 ชนิด คือ eucalyptol (16.43%) และ camphor (11.56%) ฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระของน้ำมันหอมระเหยเมื่อทดสอบด้วยวิธี DPPH มีค่า IC50 1.487 มคก./มล. และค่าต้านอนุมูลอิสระเมื่อทดสอบด้วยวิธี Ferric reducing antioxidant power เท่ากับ 48 มคก./มล. ซึ่งสอดคล้องกับปริมาณสารฟีนอลลิกรวมและสารฟลาโวนอยด์ที่พบในน้ำมันหอมระเหย คือ 2.13&#...

1267

ฤทธิ์ปกป้องตับและไตของหนูที่เป็นเบาหวานของโปรตีนจากเมล็ดข้าว
ฤทธิ์ปกป้องตับและไตของหนูที่เป็นเบาหวานของโปรตีนจากเมล็ดข้าวการศึกษาฤทธิ์ปกป้องตับและไตของโปรตีนจากเมล็ดข้าว (rice endosperm protein; REP) ที่สกัดแยกมาจากข้าวญี่ปุ่น Oryza sativa L. cv. Koshihikari ในหนูแรทที่อ้วนและเป็นเบาหวาน (Zucker diabetic fatty (ZDF) rat) ซึ่งหนูดังกล่าวจะมีภาวะไขมันเกาะตับ (fatty liver) และไตผิดปกติจากภาวะเบาหวาน (diabetic nephropathy) โดยให้หนู ZDF เพศผู้ อายุ 7 สัปดาห์ กินอาหารที่มี REP หรือโปรตีนนม (casein; C) เป็นส่วนประกอบอยู่ 20% เป็นเวลา 8 สัปดาห์ พบว่าระดับ HbA1c ...

531

ผลของการบริโภคอินทผาลัมต่อน้ำตาล
ผลของการบริโภคอินทผาลัมต่อน้ำตาล ไขมัน และสารอนุมูลอิสระในเลือดการทดลองแบบ Pilot study ให้อาสาสมัครสุขภาพดี ไม่สูบบุหรี่จำนวน 10 คน อายุ 36 ± 9 ปี รับประทานอินทผาลัมสองสายพันธุ์เปรียบเทียบกัน โดยเริ่มรับประทานสายพันธุ์ Medjool วันละ 100 กรัม นาน 4 สัปดาห์ แล้วทิ้งช่วงให้ล้างยา 4 สัปดาห์ ก่อนให้รับประทานสายพันธุ์ Hallawi ต่ออีก 4 สัปดาห์ เมื่อจบทดลองพบว่าการบริโภคอินทผาลัมทั้งสองสายพันธุ์ไม่มีผลต่อดัชนีมวลกาย ปริมาณคอเลสเตอรอล ทั้ง VLDL, LDL และ HDL ปริมาณน้ำตาลในเลือด และลดปริมาณ triacyl...

321

ผลของสารสกัดเพชรสังฆาต
ผลของสารสกัดเพชรสังฆาต และตำรับยาที่มีเพชรสังฆาตเป็นส่วนประกอบต่อผู้ที่เป็นโรคอ้วนสารสกัดเพชรสังฆาต (CQR-300) และตำรับยาที่มีเพชรสังฆาตเป็นส่วนประกอบ (CORE) เมื่อนำไปทดสอบในหลอดทดลอง พบว่ามีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ จากนั้นได้นำสาร CQR-300 และตำรับยา CORE มาทดสอบในผู้ที่มีน้ำหนักเกิน ผู้ที่อ้วน และผู้ที่น้ำหนักปกติจำนวน 168 คน ทั้งเพศชาย และหญิง อายุระหว่าง 19 - 50 ปี BMI อยู่ในช่วง 25 - 48.7 กก./ม.2 และน้ำหนักอยู่ในช่วง 70.6 - 142 กก. โดยแบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มควบคุมที่ม...

1481

ผลของกระเจี๊ยบแดงต่อปริมาณธาตุเหล็กในผู้ป่วยโรคโลหิตจาง
ผลของกระเจี๊ยบแดงต่อปริมาณธาตุเหล็กในผู้ป่วยโรคโลหิตจางการศึกษาผลของการดื่มสารสกัดมาตรฐานของน้ำดอกกระเจี๊ยบแดงต่อปริมาณธาตุเหล็กในร่างกายของผู้ป่วยโรคโลหิตจางจำนวน 130 คน ทั้งเพศชายและหญิง (อายุระหว่าง 18-50 ปี) โดยแบ่งกลุ่มผู้ป่วยออกเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ให้ดื่มสารสกัดน้ำกระเจี๊ยบแดงวันละ 1,000 มล. (เทียบเท่ากับการได้รับปริมาณสารสำคัญคือ ascorbic acid 831 มก./ก. และธาตุเหล็ก 78 มก./ก.) กลุ่มที่ 2 ดื่มสารสกัดน้ำกระเจี๊ยบแดงวันละ 1,500 มล. (เทียบเท่ากับการได้รับปริมาณสารสำคัญคือ ascorbic acid 1...

1353

ฤทธิ์ต้านออกซิเดชันและฤทธิ์ต้านมะเร็งของสารลิโคชาลโคนเอจากรากชะเอมเทศ
ฤทธิ์ต้านออกซิเดชันและฤทธิ์ต้านมะเร็งของสารลิโคชาลโคนเอจากรากชะเอมเทศการศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและฤทธิ์ต้านเซลล์มะเร็งของสาร Licochalcone A (LCA) ซึ่งแยกได้จากรากชะเอมเทศ (Glycyrrhiza inflataJ Ethnopharmacol 2017;198:331-7. ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล...

922

การศึกษาความความเป็นพิษของว่านหางจระเข้
การศึกษาความความเป็นพิษของว่านหางจระเข้การศึกษาความเป็นพิษของสาร anthraquinone ซึ่งพบในยางเหลืองของว่านหางจระเข้ โดยแบ่งให้หนูแรทกินน้ำที่มีส่วนผสมของน้ำคั้นจากใบว่านหางจระเข้ที่กำจัดยางเหลืองออกแล้ว (พบสาร anthraquinone น้อยกว่า 0.1 ส่วนในล้านส่วน) ความเข้มข้น 0.5%, 1% และ 2% ติดต่อกันนาน 3 เดือน ไม่พบความผิดปกติใดๆ และพบว่าขนาดสูงสุดที่ไม่ก่อเกิดความเป็นพิษ (no-observed-adverse-effect level: NOAEL) คือ >2% โดยน้ำหนักต่อปริมาตร หรือมากกว่าวันละ 1,845 มก./กก.น้ำหนักตัว สำหรับเพศชาย และมากกว่า 2,...