-
ผลวิจัยสมุนไพร Thai Herb Research.
-
ฤทธิ์ต้านไวรัสของสารจากมะขามป้อม
ข่าวความเคลื่อนไหว ผลวิจัยจากการทดลอง ของ สมุนไพร ชนิดต่างๆ
ฤทธิ์ต้านไวรัสของสารจากมะขามป้อม
เมื่อนำสารสกัด 70% เอทานอลจากรากมะขามป้อม มาทำการแยกเพื่อศึกษาองค์ประกอบทางเคมี พบว่าประกอบด้วยสารใหม่กลุ่ม highly oxygenated bisabolanesesquiterpenoid glycosides 14 ชนิด ได้แก่ phyllaemblicins H1-H14, สารphyllaemblicins B, C และ glochicoccinoside D ในการทดสอบฤทธิ์ต้านไวรัสของสารที่แยกได้ต่อเชื้อไวรัส 4 ชนิด ได้แก่ เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ H3N2, เชื้อไวรัสโรคเริม ชนิดที่ 1 (herpes simplex virustype 1, HSV-1), เชื้อเอนเทอโรไวรัส71 (enterovirus71, EV71)และเชื้อคอกแซกกีไวรัส B3 (coxackie virus B3, CVB3)ที่ก่อให้เกิดโรคมือ เท้า ปากพบว่าสาร glochicoccinoside Dมีฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อ H3N2และ EV71โดยมีค่าความเข้มข้นของสารสกัดที่มีฤทธิ์ยับยั้งได้ครึ่งหนึ่ง (IC50) เท่ากับ4.5±0.6 และ2.6±0.7 มคก./มล. ตามลำดับ นอกจากนี้พบว่าสารphyllaemblicins H1 มีฤทธิ์เป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งปอด A-549 และเซลล์มะเร็งตับ SMMC-7721 ด้วยโดยมีค่าIC50 เท่ากับ4.7±0.7 และ 9.9±1.3ไมโครโมลาร์ ตามลำดับ
Phytochemistry2015;117:123-34.ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
บทความอื่นๆ
[6]-Gingerol
[6]-Gingerol มีฤทธิ์ปกป้องเซลล์ประสาทจากการทำลายของเบต้า-อะไมลอยด์การศึกษาผลของ [6]-gingerol ที่ได้จากขิง ต่อการปกป้องจากการทำลายเซลล์ประสาทเพาะเลี้ยงด้วยเบต้า-อะไมลอยด์ พบว่า ในเซลล์ประสาทที่เลี้ยงด้วยอาหารเลี้ยงเซลล์ที่มีระดับเบต้า-อะไมลอยด์ 20 ไมโครโมลาร์ จะมีระดับโปรตีนกระตุ้นการตายของเซลล์ (Bax) เพิ่มขึ้น และมีระดับโปรตีนที่ป้องกันการตายของเซลล์ (Bcl2) ลดลง มีการทำงานของ caspase-3 เพิ่มขึ้น และการตายของเซลล์แบบ apoptosis เพิ่มขึ้น ระดับเบต้า-อะไมลอยด์ยังชักนำให้มีการทำลายเซลล์จากสารอนุมูลอิ...
สารสกัดเมล็ดมะละกอมีผลคุมกำเนิดเพศชาย
สารสกัดเมล็ดมะละกอมีผลคุมกำเนิดเพศชาย เมื่อทดลองให้หนูขาวเพศผู้กินเบนซีนแฟรกชั่นของสารสกัดคลอโรฟอร์มจากเมล็ดมะละกอ ( Carica papaya L. ) ขนาด 5 และ 10 มก./ วัน นาน 150 วัน มีผลลดจำนวนและลดการเคลื่อนที่ของสเปิร์มใน cauda epididymis นอกจากนั้นยังลดจำนวนสเปิร์มที่มีชีวิต และเพิ่มจำนวนสเปิร์มที่มีลักษณะผิดปกติ เริ่มเห็นผลเหล่านี้ภายหลังให้สารสกัดนาน 60 วัน หลังจากหยุดให้สารสกัดแล้ว 60 วัน ผลต่างๆต่อสเปิร์มมีค่ากลับเป็นปกติPhytomedi...
ฤทธิ์ต่อระดับไขมันของเคอร์คูมินอยด์ในผู้ป่วยเบาหวาน
ฤทธิ์ต่อระดับไขมันของเคอร์คูมินอยด์ในผู้ป่วยเบาหวานการทดสอบฤทธิ์ของเคอร์คูมินอยด์สารสำคัญที่พบในขมิ้นชัน (Curcuma longa L.) ต่อระดับไขมันของผู้ป่วยเบาหวาน โดยศึกษาแบบ randomized double-blind placebo-controlled trial ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 118 คน เมื่อให้ผู้ป่วยรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเคอร์คูมินอยด์แคปซูล (ประกอบด้วยเคอร์คูมินอยด์ 1,000 มก และสารไพเพอรีน 10 มก. ต่อวัน) ร่วมกับการรักษาเบาหวานตามปกติ เปรียบเทียบกับกลุ่มที่ได้รับยาหลอกร่วมกับยารักษาเบาหวาน เมื่อครบ 12 สัปดาห์ พบว่ากลุ่ม...
ผลของสารสกัดต้นกระถินดำต่อสุขภาพผิวหนัง
ผลของสารสกัดต้นกระถินดำต่อสุขภาพผิวหนังการศึกษาทางคลินิกเกี่ยวกับอนุพันธ์ของสารโปรแอนโธไซยานิดินส์ (proanthocyanidins derived) จากสารกัดเปลือกต้นกระถินดำ (Acacia mearnsii) ต่อสุขภาพผิวของอาสาสมัครชาวญี่ปุ่นที่มีประวัติมีปัญหาผิวหนัง เช่น อาการคัน ผิวแห้ง แต่ไม่ใช่ปัญหาที่มีสาเหตุมาจากอาการแพ้ ที่บริเวณใบหน้าและมือ โดยศึกษาในอาสาสมัครจำนวน 33 คน แบ่งออกเป็นกลุ่มทดสอบซึ่งจะได้รับสารสกัดกระถินดำ 6 เม็ด/วัน (เทียบเท่าสารโปรแอนโธไซยานิดินส์ 245 มก./วัน) หลังอาหารเช้า เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ เปรียบเทีย...
ฤทธิ์ป้องกันตับอักเสบของหญ้าต้อมต๋อก
ฤทธิ์ป้องกันตับอักเสบของหญ้าต้อมต๋อก สารสกัดผลด้วยอัลกอฮอล์ (95%) ของหญ้าต้อมต๋อก (Solanum nigrum L.) เมื่อนำไปทดสอบในหนูซึ่งได้รับคาร์บอนเตทตระคลอไรด์ ซึ่งทำลายตับ พบว่าในขนาด 250 มก./กก. สามารถป้องกันตับอักเสบได้ โดยประเมินจากค่า aspartate amino transferase (AST), alanine amino transferase (ALT), alkaline phosphatase (ALP) และ bilirubin ซึ่งต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ(Biol Pharm Bull 2003;26(11):1618-9) ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้...
ผลของการดื่มไวน์แดงต่อสารต้านอนุมูลอิสระ
ผลของการดื่มไวน์แดงต่อสารต้านอนุมูลอิสระการศึกษาผลของการดื่มไวน์ต่อการทำงานของเอ็นไซม์ และการแสดงออกของยีนส์ที่เกี่ยวข้องกับสารต้านอนุมูลอิสระ ในอาสาสมัคร จำนวน 8 คน ที่มีอายุระหว่า 23-37 ปี (เฉลี่ย 28.75±3.33) ทั้งชายและหญิง โดยแบ่งการทดลองออกเป็นสองระยะ ในระยะแรกอาสาสมัครจะได้รับอาหารที่ควบคุมปริมาณสาร phenolic (LPD) เพื่อป้องกันผลที่มาจากอาหารชนิดอื่น และให้ดื่มไวน์แดงทุกวัน วันละ 300 มิลลิลิตร เป็นเวลา 1 สัปดาห์ หลังจากนั้น 4-5 เดือน ทำการทดลองระยะที่สองโดยให้อาสาสมัครรับประทานอาหารแบ...
ฤทธิ์ต้านแบคทีเรียของใบดาหลา
ฤทธิ์ต้านแบคทีเรียของใบดาหลาการศึกษาฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียแกรมบวกชนิด Staphylococcus epidermidisand และ Pseudomonas aeruginosaare ของสารสกัด 70%เอทานอลและส่วนสกัดต่างๆ จากใบดาหลา (Etlingera elatior) ด้วยวิธีdiffusion method และ bioautography method พบว่าสารสกัด 70%เอทานอลมีค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถยับยั้งเชื้อ (MIC) ทั้ง 2 ชนิดเท่ากับ 400-25 มคก./มล. ในขณะที่ส่วนสกัดเอ็น-เฮกเซน, ส่วนสกัดเอทธิลอะซีเตท, และส่วนสกัดเมทานอลมีค่า MIC ต่อเชื้อ S. epidermidis เท่ากับ 200, 100 และ 200 มคก./มล. ตามล...
สารออกฤทธิ์ยับยั้งพรอสตาแกลนดินจากหญ้าหัวโต
สารออกฤทธิ์ยับยั้งพรอสตาแกลนดินจากหญ้าหัวโต สาร diterpenes จากสารสกัดจากทั้งต้นของหญ้าหัวโต มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ พรอสตาแกลนดินอี 1 (PGE1) และพรอสตาแกลนดินอี 2 (PGE2) ที่เหนี่ยวนำให้เกิดการหดตัวของลำไส้เล็กหนูตะเภา สารที่ออกฤทธิ์ดีที่สุดคือ leucasperoside B สามารถยับยั้งทั้ง PGE1 และ PGE2 ด้วยความเข้มข้น 16 และ 48 โมโครโมลตามลำดับ สาร leucasperones A และ leucasperoside A ยับยั้ง PGE ทั้ง 2 ชนิดเช่นกันด้วยความเข้มข้น 126 และ 76 ไมโครโมล ตามลำดับ ขณะที่สาร linifolioside ยับยั้งเฉพาะ PGE1 ...
ฤทธิ์ต้านความผิดปกติของเม็ดเลือดขาวของสาร
ฤทธิ์ต้านความผิดปกติของเม็ดเลือดขาวของสาร (-)-epicatechin ในม้ามของหนูแรทการศึกษาฤทธิ์ของสาร (-)-epicatechin (EC) ที่เหนี่ยวนำให้เกิดการทำลาย DNA และการตายของเซลล์มะเร็งในม้ามของหนูแรทที่เป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน (acute myeloid leukemia) และหนูแรทปกติ โดยการให้สาร EC (เป็นสารในกลุ่ม flavanols พบในชาเขียว) เข้าทางกระเพาะของหนูแรท โดยผ่านทางหลอดอาหาร ในขนาด 40 มก./กก. เป็นเวลา 22 วัน พบว่า EC ไม่มีผลต่อการทำลาย DNA ในเซลล์ม้ามของหนูแรทปกติ แต่เพิ่มจำนวนของสาย DNA ที่แตกออก ในเซลล์ม้ามของ...