Menu

ข่าวความเคลื่อนไหว ผลวิจัยจากการทดลอง ของ สมุนไพร ชนิดต่างๆ

ประโยชน์ของนมและน้ำมันข้าวโพดในการช่วยรักษาสารไอโซไทโอไซยาเนทในหัวผักกาดขาว

สารไอโซไทโอไซยาเนท (isothiocyanate; ITC) ซึ่งเป็นสารสำคัญในหัวผักกาดขาว (Raphanus sativus L.) มีฤทธิ์ยับยั้งมะเร็งและยับยั้งการอักเสบ แต่มักจะสลายตัวได้ง่ายในสารละลายที่มีน้ำเป็นส่วนประกอบ การศึกษาโดยวัดสาร ITC ในน้ำคั้นจากหัวผักกาดขาวที่ผสมกับน้ำ น้ำมันข้าวโพด หรือนม พบว่าน้ำมันข้าวโพดและนมจะช่วยป้องกันการสลายตัวของ ITC โดยพบว่าน้ำหัวผักกาดขาวที่ผสมในน้ำมันข้าวโพดและนมจะมีความเข้มข้นของ ITC มากกว่าน้ำหัวผักกาดที่ผสมในน้ำถึง 1.4 เท่า และจากการให้น้ำหัวผักกาดขาวผสมนมทางปากแก่หนูแรท พบว่านมช่วยเพิ่มการดูดซึมของ ITC ได้ เมื่อเปรียบเทียบกับการให้น้ำหัวผักกาดขาวผสมน้ำ ดังนั้นการบริโภคหัวผักกาดขาวดิบพร้อมน้ำมันข้าวโพดหรือนมจะทำให้ได้ประโยชน์จากสาร ITC มากกว่าการบริโภคหัวผักกาดขาวเพียงอย่างเดียว เนื่องจากน้ำมันข้าวโพดและนมช่วยป้องกันการสลายตัวของ ITC และนมยังช่วยเพิ่มการดูดซึม ITC ในร่างกายด้วย

Food Chemistry 2014;161:176-80

ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

1

2

3

4

5

6

บทความอื่นๆ

252

เทียนเยาวพานีหรือผักชีฝรั่งกับฤทธิ์ปกป้องตับในหนูที่เป็นเบาหวาน
เทียนเยาวพานีหรือผักชีฝรั่งกับฤทธิ์ปกป้องตับในหนูที่เป็นเบาหวาน ในตำรายาแผนโบราณทั่วโลกโดยเฉพาะตุรกีมีการใช้ใบเทียนเยาวพานีหรือผักชีฝรั่ง (parsley) รักษาโรคเบาหวาน จากการศึกษาทางพฤกษเคมีพบว่าเทียนเยาวพานีมีสารสำคัญคือ flavanoids, ascorbic acid, น้ำมันหอมระเหย, coumarines, phthalides, furanocoumarins และ sesquiterpenes เนื่องจากผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในระยะยาวมักเกิดภาวะแทรกซ้อนต่อระบบหลอดเลือดและหัวใจรวมทั้งอวัยวะที่สำคัญ ในการศึกษานี้จึงนำสารสกัดใบแห้งด้วยน้ำร้อนของเที...

113

ความเป็นพิษของสารกลุ่มอัลคิลฟีนอลในใบแป๊ะก๊วย
ความเป็นพิษของสารกลุ่มอัลคิลฟีนอลในใบแป๊ะก๊วย ในการเตรียมสารสกัดมาตรฐานใบแป๊ะก๊วย (Ginkgo biloba L.)50) = 33 ppm แฟรกชั่นที่ประกอบด้วย ginkgolic acids 58 % และ biflavones < 0.02 % มีค่า LD50 = 64 ppm ส่วนแฟรกชั่นที่ประกอบด้วย ginkgolic acids 1 % และ biflavones 16 % มีค่าความเป็นพิษต่ำคือมีค่า LD50 = 4,540 ppm การศึกษานี้ยืนยันความเป็นพิษของ ginkgolic acids และชี้ให้เห็นว่าส่วนประกอบอื่น เช่น biflavones มีผลเสริมความเป็นพิ...

1198

ฤทธิ์ยับยั้งไนตริกออกไซด์และต้านอนุมูลอิสระของสารฟีนอลิกในทุเรียน
ฤทธิ์ยับยั้งไนตริกออกไซด์และต้านอนุมูลอิสระของสารฟีนอลิกในทุเรียนสารกลุ่มฟีนอลิกซึ่งแยกได้จากเปลือกทุเรียน เมื่อนำมาทดสอบฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระ พบว่าสาร fraxidin จะมีฤทธิ์ดีที่สุดในการต้านอนุมูลอิสระ เมื่อทดสอบด้วยวิธี DPPH และ superoxide anion radical scavenging (IC50 = 7.83±1.00 และ 11.4±1.44 ไมโครโมลาร์ ตามลำดับ) และในการทดสอบฤทธิ์ยับยั้งไนตริกออกไซด์ในเซลล์ murine RAW 264.7 ที่ถูกเหนี่ยวนำด้วยไลโปโพลีแซคคาไรด์ พบว่าสาร cleomiscosin B มีฤทธิ์ดีที่สุดในการยับยั้ง (IC50 = 3.5...

152

สารจากขมิ้นที่ป้องกันภาวะสมองเสื่อมในขมิ้น
สารจากขมิ้นที่ป้องกันภาวะสมองเสื่อมในขมิ้น จากการศึกษาสารที่แยกจากขมิ้นพบว่า calebin A, curcumin, demethoxycurcumin, bisdemethoxycurcumin และ 1,7-bis(4-hydroxyphenyl)-1-heptene-3,5-dione มีฤทธิ์ป้องกันการจับของ beta-amyloid ซึ่งจะทำให้เกิดภาวะการเสื่อมของสมอง J Nat Prod 2002;65(9):1227-31 ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล...

698

สารสกัดจากข้าวสีม่วงและสาร
สารสกัดจากข้าวสีม่วงและสาร anthocyanidin ช่วยป้องกันความเสียหายของจอประสาทตาจากการถูกทำลายด้วยแสงการศึกษาผลของสารสกัดจากรำข้าวสีม่วง และสารประกอบหลัก anthocyanidins (cyanidin และ peonidin) ต่อการป้องกันการทำลายจอประสาทตาจากแสง ในเซลล์ประสาทรับแสง (murine photoreceptor cells; 661W) โดยนำสารสกัดจากรำข้าวสีม่วง สาร cyanidin และ สาร peonidin เติมลงในเพลทที่มีเซลล์ประสาทรับแสงอยู่ หลังจากนั้นนำมาสัมผัสกับแสง (white fluorescent) เป็นเวลา 24 ชั่วโมง พบว่าสารสกัดจากรำข้าวสีม่วง สาร cyanidin และ สาร peon...

1172

ความปลอดภัยและประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์เวชสำอางจากถั่วแระต้น
ความปลอดภัยและประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์เวชสำอางจากถั่วแระต้นการประเมินความปลอดภัยและประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์เวชสำอางเพปไทด์จากถั่วแระต้นหรือถั่วมะแฮะ (Cajanus cajan (L.) Millsp.) ซึ่งอยู่ในรูปแบบของซีรั่มที่มีลักษณะของเหลวใส โดยทดสอบในอาสาสมัครหญิงชาวเอเชีย จำนวน 20 คน อายุระหว่าง 35 ถึง 65 ปี พบว่าเมื่อใช้ผลิตภัณฑ์วันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น ติดต่อกันเป็นเวลา 8 สัปดาห์ ไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้หรือระคายเคืองที่ผิวหน้าหรืออาการข้างเคียงใดๆ ผลิตภัณฑ์สามารถลดจำนวนริ้วรอย (number of wrinkle) ได้ 72.7% ลดคว...

1186

ผลลดความดันโลหิตสูงของเครื่องดื่มที่ผสมสารสกัดจากเมล็ดองุ่น
ผลลดความดันโลหิตสูงของเครื่องดื่มที่ผสมสารสกัดจากเมล็ดองุ่นการศึกษาแบบสุ่มโดยปกปิดทั้งสองฝ่ายในผู้ที่มีความดันโลหิตสูงเล็กน้อย ความดันโลหิตช่วงหัวใจบีบตัว (systolic blood pressure) อยู่ระหว่าง 120 - 139 มม.ปรอท และความดันโลหิตช่วงหัวใจคลายตัว(diastolic blood pressure) อยู่ระหว่าง 80 - 89 มม.ปรอท อายุ 25 - 65 ปี จำนวน 29 คน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ให้รับประทานยาหลอก กลุ่มที่ 2 ให้รับประทานน้ำผลไม้ซึ่งผสมสารสกัดจากเมล็ดองุ่น ขนาด 300 มก./วัน แบ่งรับประทาน 2 ครั้ง เช้า-เย็น นาน 6 ...

1373

การศึกษาความปลอดภัยของสารสกัดฟ้าทะลายโจร
การศึกษาความปลอดภัยของสารสกัดฟ้าทะลายโจรการศึกษาความปลอดภัยในมนุษย์ของสารสกัดมาตรฐานฟ้าทะลายโจร (Andrographis paniculata (Burm.f.) Wall.ex Nees) โดยการประเมินผลทางคลินิคในอาสาสมัครชายหญิงสุขภาพดี จำนวน 20 คน ที่รับประทานแคปซูลฟ้าทะลายโจร ครั้งละ 4 แคปซูล วันละ 3 ครั้ง ห่างกันครั้งละ 8 ชั่วโมง (รวมได้รับวันละ 12 แคปซูล เท่ากับสารสกัดมาตรฐานจากฟ้าทะลายโจร 4.2 กรัม) ติดต่อกัน 3 วัน ซึ่งเป็นขนาดที่แนะนำให้ใช้ตามบัญชียาหลักแห่งชาติเพื่อบรรเทาอาการหวัดและเจ็บคอ การตรวจสอบผลทางคลินิคในอาสาสมัครหลังการร...

186

ฤทธิ์ต้านตับอักเสบของว่านพร้าว
ฤทธิ์ต้านตับอักเสบของว่านพร้าว Curculigenin A และ Curculigol เป็น steroid ซึ่งสกัดแยกได้จากหัวว่านพร้าว มีฤทธิ์ต้านตับอักเสบที่เกิดจาก thioacetamide และ galactosamine ฤทธิ์จะขึ้นอยู่กับขนาดที่ให้ โดย Curculigenin A ในขนาด 100 และ 1000 mcg/ml ให้ผลต้าน galactosamine แต่ทั้ง 2 ชนิด ในขนาด 10, 100, 1000 mcg/ml สามารถต้านฤทธิ์ตับอักเสบ Indian Drugs 1997;34(2):68-71. ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิ...